รายการบทเรียน
Lesson: ธุรกิจไอซีที (ICT) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) สัปดาห์ที่ 8 (20-24 ธ.ค. 2564)
About Lesson
  1. การเงินและการบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
    1. การวางแผนทางการเงิน สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
      1. มีการบันทึกงบกระแสเงินสด หรือสมุดบัญชีรับจ่ายเงินสดที่ครบถ้วนชัดเจน เพื่อความแม่นยำในการวางแผน และการบริหารเงินสด
      2. แยกบัญชีรายรับ-รายจ่ายระหว่างเรื่องส่วนตัวและธุรกิจ เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้ถูกต้อง
      3. หลีกเลี่ยงการสร้างภาระหนี้สิน โดยเฉพาะการพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบ
      4. ไม่นำเงินกู้หรือวงเงินของกิจการไปใช้ในเรื่องส่วนตัวหรือใช้ในกิจการอื่น
      5. รักษาเครดิตหรือความน่าเชื่อถือทางการค้า โดยไม่ผิดนัดชำระเงินหรือมีปัญหา การจ่ายเบิก จ่ายเช็ค
      6. สั่งซื้อวัตถุดิบให้เพียงพอและมีปริมาณเหมาะสมกับจำนวนสินค้าที่วางแผนผลิต ไม่ควรสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากมาเก็บไว้ เพราะจะทำให้เสียเงินสดที่จะนำมาใช้เป็นเงินหมุนเวียนในธุรกิจ
    2. การทำบัญชีของธุรกิจ SMEs

ควรทำอย่างเป็นขั้นตอนและมีกระบวนการเพื่อให้บัญชีถูกต้อง เข้าใจง่ายเป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกต่อการค้นหาและตรวจสอบ โดยเมื่อมีรายการทางบัญชี ดังนี้

      1. งบการเงิน
        • งบดุล
        • งบกำไรขาดทุน
        • งบกระแสเงินสด
      2. การวิเคราะห์งบการเงินเบื้องต้น มีหลักการดังนี้

        • เมื่อธุรกิจมีกำไรน้อย
        • หากรายได้จากการขายลดลง
        • ถ้าต้องการดูสภาพคล่องทางการเงินเมื่อธุรกิจมีกำไรน้อยหากรายได้จากการขายลดลง

ธุรกิจไอซีที (ICT) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)

ไอซีที (ICT : Information and Communication Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสารทุกประเภท ซึ่งมีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) หมายถึง การทำธุรกิจซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและ บริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางการจำหน่ายในระบบอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ที่ได้รับความนิยมและทำกันอย่างแพร่หลาย คือ การซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

วัตถุประสงค์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการให้เข้าถึงผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าในต่างประเทศ
  2. เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าให้กับผู้บริโภค เพราะไม่ต้องเสียเวลา หรือเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาซื้อสินค้า
  3. เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. ช่วยลดต้นทุนการทำการตลาด
  2. เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  3. ช่วยให้ธุรกิจมีความทันสมัย
  4. ผู้บริโภคมีความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

องค์ประกอบหลักของระบบการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. เว็บเพจหรือร้านค้าบนเว็บ มีแนวทางในการทำ 2 วิธี ดังนี้
    • การประกาศหรือประมูลขายสินค้าบนเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลาง
    • การสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าเป็นของตนเอง
  2. ระบบตะกร้ารับสั่งซื้อ
  3. ระบบคำนวณเงินและชำระเงินค่าสินค้าที่ปลอดภัย

ขั้นตอนการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. สำรวจสินค้าหรือบริการที่ตลาดต้องการ
  2. ศึกษาค้นคว้าวิธีการเขียนโฮมเพจหรือเว็บเพจ
  3. จดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name) กับองค์กรอินเทอร์เน็ต
  4. จดทะเบียนเพื่อขอรับโปรแกรมชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
  5. ติดต่อกับธนาคารเพื่อรองรับการชำระเงินของผู้บริโภคหรือลูกค้าผ่านออนไลน์
  6. ดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ความสัมพันธ์ของระบบการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่อไปนี้

    1. ธนาคาร (Bank)
    2. องค์กรผู้บริหารและพัฒนาโปรแกรมการประมวลผลการชำระค่าสินค้าหรือบริการผ่านอินเทอร์เน็ตให้กับร้านค้าต่าง ๆ (TPSP : Transaction Processing Service Provider)
    3. ลูกค้า (Customer)
    4. ร้านค้า (Merchant)
    5. องค์กรให้บริการเชื่อมต่อระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตให้กับลูกค้า (ISP : Internet Service Provider)

 

Exercise Files
การงานอาชีพ ม.4 การดำเนินการทางธุรกิจ ต่อ 2.pdf
Size: 1.31 MB
รายการบทเรียน
0% Complete