เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยการเรียนที่ 2 พัฒนาทักษะการเขียน
0/21
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พัฒนาทักษะการฟัง ดู พูด
0/7
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วรรณกรรมและนิทานพื้นบ้าน
0/16
เรื่อง คำที่มีหลายความหมายและคำเปรียบเทียบ
0/1
สรุปความรู้กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
0/1
ภาษาไทย ท21102 ม.1 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 468) อธิบายคำว่า เรียงความ ไว้ว่า (น.) เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น(ก.) นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ (2551 : 34) กล่าวถึง เรียงความ ว่าเป็นเรื่องราวที่แต่งและเรียบเรียงขึ้นตามความนึกคิดและความรู้ของผู้แต่ง โดยมีการคิดโครงเรื่องให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องแล้วนำถ้อยคำมาประกอบเป็นประโยคและเรียบเรียงเป็นเนื้อความให้ต่อเนื่องกันตามโครงเรื่องที่คิดไว้

ส่วนประกอบของเรียงความ มีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

หลักการเขียนเรียงความ

๑. การเลือกเรื่องที่จะเขียน

๒. ตั้งวัตถุประสงค์ในการเขียน

๓. รวบรวมความคิดโดยการวางโครงเรื่อง

๔. แสวงหาข้อมูลมาประกอบการเขียน

๕. วางโครงเรื่อง คือการวางใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า

๖.  เรียบเรียงขยายความตามโครงเรื่องที่วางลำดับไว้

๗. ใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม

ใบความรู้ที่ 1 เรื่องการเขียนเรียงความ

วิชาภาษาไทย ชั้น ม. 1 เรื่อง การเขียนเรียงความ สัปดาห์ที่ 2 (ชั่วโมงที่ 5)

ไฟล์ตัวอย่าง
ใบความรู้ที่ 1 เรื่องการเขียนเรียงความ.pdf
ขนาด: 99.68 KB