รายการบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 2 พัฒนาทักษะการเขียน
0/21
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พัฒนาทักษะการฟัง ดู พูด
0/7
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วรรณกรรมและนิทานพื้นบ้าน
0/16
เรื่อง คำที่มีหลายความหมายและคำเปรียบเทียบ
0/1
สรุปความรู้กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
0/1
Lesson: ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน สัปดาห์ที่ 3 (ชั่วโมงที่2)
About Lesson

ธรรมชาติของภาษาพูด

  • ภาษาพูด หมายถึง ภาษาที่ใช้พูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีความเคร่งครัดด้านไวยากรณ์แตกต่างกันไปตามโอกาสของการใช้ภาษา
  • ระดับภาษาที่ใช้โดยส่วนใหญ่เป็นภาษาระดับกันเอง และระดับกึ่งแบบแผน หรือกึ่งทางการ
  • ภาษาพูดมักใช้คำซ้ำ เช่น นิ่งๆ เฉยๆ ใช้คำซ้อน เช่น หนังสือหนังหา หลายสิ่งหลายอย่าง ใช้คำที่ไม่ชัดเจน เช่น อะไรพวกนี้ อะไรทำนองนี้ ใช้คำลงท้าย
  • ภาษาพูดจะมีช่วงหยุดแสดงอาการลังเล หรือไม่แน่ใจ เช่น อืม เอ่อ… แบบ… หรืออาจมีข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์อื่นๆ

    ธรรมชาติของภาษาเขียน

  • ภาษาเขียน หมายถึง สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในกลุ่มสังคมหนึ่งๆ กำหนดใช้แทนเสียงในภาษาร่วมกัน

  • ระดับภาษาที่ปรากฏในภาษาเขียน ส่วนใหญ่เป็นภาษาระดับทางการ แต่ก็พบภาษาระดับอื่นๆ   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การสื่อสาร เช่น นวนิยาย หรือเรื่องสั้นที่ต้องการถ่ายทอดความสมจริงของชีวิต

  • ภาษาเขียนมีความประณีตมากกว่าภาษาพูด เพราะผู้เขียนมีเวลาในการขัดเกลาถ้อยคำ
  • ภาษาเขียนมีความประณีตมากกว่าภาษาพูด เพราะผู้เขียนมีเวลาในการขัดเกลาถ้อยคำ และสามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
  • ภาษาเขียนมักมีการใช้คำนามธรรมที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “การ…” เช่น การตัดสินใจ การกำหนด การประชาสัมพันธ์
  • ใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย “เป็นที่” เช่น เป็นที่เข้าใจว่าโรคไข้หวัดนกไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่ง ไปสู่อีกคนหนึ่งได้ เป็นต้น
  • วิชาภาษาไทย ชั้น ม. 1 เรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียนสัปดาห์ที่ 3 (ชั่วโมงที่ 2)
  • ใบความรู้เพิ่มเติมภาษาพูด
Exercise Files
No Attachment Found
No Attachment Found
รายการบทเรียน
หน่วยการเรียนที่ 2 พัฒนาทักษะการเขียน
0/21
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พัฒนาทักษะการฟัง ดู พูด
0/7
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วรรณกรรมและนิทานพื้นบ้าน
0/16
เรื่อง คำที่มีหลายความหมายและคำเปรียบเทียบ
0/1
สรุปความรู้กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
0/1
0% Complete