รายการบทเรียน
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
Lesson: ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์
About Lesson

ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์

การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ช่วยให้เราเรียนรู้ประวัติและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีการสูญพันธุ์ และมีการเกิดขึ้นใหม่มาทดแทน รวมทั้งช่วยให้เราทราบประวัติความเป็นมาของโลกว่า มีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด โดยสรุปอาจกล่าวถึงประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ได้ดังนี้

รอยเท้าของไดโนเสาร์ที่ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม รอยเท้าของไดโนเสาร์ที่ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

๑. ใช้บอกอายุของชั้นหิน

เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาและสูญพันธุ์ไปตลอดเวลา ตารางเวลาทางธรณีวิทยาจึงใช้หลักฐานการเกิดขึ้น และการสูญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต เป็นเกณฑ์กำหนดอายุของชั้นหิน โดยแต่ละมหายุคสิ้นสุดลง ด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ของสิ่งมีชีวิตบนโลก และแต่ละยุค สิ้นสุดโดยมีเหตุการณ์การสูญพันธุ์ และการเกิดใหม่ ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด โดยบางชนิดมีจำนวนมาก และแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดำรงชีวิตอยู่ในโลก ในช่วงระยะเวลาอันสั้น จึงสามารถช่วยกำหนดอายุของชั้นหินได้ดี เราเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (Index fossil) เช่น ฟิวซูลินิด (fusulinid) ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงยุคเพอร์เมียนเท่านั้น

ร่องรอยแนวทางเดินของไดโนเสาร์ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
ร่องรอยแนวทางเดินของไดโนเสาร์ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

๒. ใช้บอกลำดับชั้นหิน

สิ่งมีชีวิตที่มีอายุเก่ากว่าจะตกทับถมอยู่ในหินชั้นล่าง และสิ่งมีชีวิตที่มีอายุใหม่กว่าจะตกทับถมอยู่ในหินชั้นบน ดังนั้น เมื่อพบซากดึกดำบรรพ์อายุเก่ากว่า แสดงว่า ชั้นหินนั้นเกิดก่อนชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่อายุใหม่กว่า

๓. ใช้เทียบเคียงชุดหินต่าง ๆ ชั้นหินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีซากดึกดำบรรพ์ ชนิดเดียวกัน แม้ว่าพบในบริเวณที่ต่างกันก็ถือว่า ชั้นหินทั้งสองแหล่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และเกิดในสภาพแวดล้อมของการสะสมตะกอน ลักษณะเดียวกัน

๔. ใช้ประโยชน์ในการค้นหาแหล่งแร่บางชนิด เช่น สาหร่ายทะเล ที่ฝังอยู่ในหินกักเก็บน้ำมัน สามารถช่วยให้เราสำรวจหาปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย

รูชอนไชของสัตว์ในชั้นหิน พบที่เขาทะลุ จ.ชุมพร
รูชอนไชของสัตว์ในชั้นหิน พบที่เขาทะลุ จ.ชุมพร

๕. ใช้บอกถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ในอดีต เช่น การค้นพบซากเอป ซึ่งเป็นลิงขนาดใหญ่ ไม่มีหาง ลักษณะคล้ายคลึงกับอุรังอุตังในปัจจุบัน ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ประเทศไทยอาจเป็นแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการ ของอุรังอุตัง มาตั้งแต่สมัยไมโอซีน เมื่อราว ๑๓ ล้านปีมาแล้ว

สาหร่ายทะเล
สาหร่ายทะเล

๖. ใช้บอกสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต

การศึกษาชนิดของซาก ดึกดำบรรพ์ รวมทั้งชนิดของหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับสิ่งมีชีวิตปัจจุบัน ทำให้เราสามารถแปลความหมายสภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศในอดีตได้ เนื่องจาก สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น ชนิดและสมบัติของตะกอน อุณหภูมิ ปริมาณของออกซิเจน และแสงสว่าง ดังนั้น ถ้าพบซากปะการังในหินปูน เราสามารถบอกได้ว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจาก หินปูนเป็นหินที่เกิดจากการตกตะกอนทางเคมี ของสารละลายคาร์บอเนต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในทะเล ซากปะการังจึงบอกให้ทราบว่าเป็นทะเลน้ำตื้น น้ำใส แสงแดดส่องถึง และมีอุณหภูมิอบอุ่น ทั้งนี้ โดยเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อม ของปะการังปัจจุบัน

๗. ใช้บอกการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก

เนื่องจากเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การค้นพบว่า ซากไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียสหลายชนิดในประเทศไทย เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกับที่พบในประเทศจีน ทำให้สันนิษฐานได้ว่า แผ่นดินฉาน – ไทย ซึ่งเคลื่อนที่มาจากทางใต้ ได้ชนกับแผ่นดินอินโดจีนแล้ว ในช่วงปลายมหายุคมีโซโซอิก

Exercise Files
No Attachment Found
No Attachment Found
รายการบทเรียน
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
0% Complete