รายการบทเรียน
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
Lesson: การกัดเซาะชายฝั่ง
About Lesson

สาเหตุของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

           การกัดเซาะชายฝั่ง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากการกัดเซาะของคลื่นหรือลม ตะกอนจากที่หนึ่งไปตกทับถมในอีกบริเวณหนึ่ง ทำให้แนวของชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป บริเวณที่มีตะกอนเคลื่อนเข้ามาน้อยกว่าปริมาณที่ตะกอนเคลื่อนออกไป ถือว่าเป็นบริเวณที่มีการกัดเซาะชายฝั่ง  สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักคือ

  1. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกระบวนการตามธรรมชาติ

เกิดจากการกัดเซาะของคลื่นและลม วาตภัย อุทกภัย หรือจากกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น  โดยคลื่นเป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงลักษณะของตะกอนและทรายชายฝั่ง

            1.1 ลมพายุและมรสุม ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งตามธรรมชาติในรอบปี เช่น แนวชายฝั่งฝั่งตะวันออกมีปริมาตรทรายตามแนวชายฝั่งลดลงในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จะมีปริมาตรมากขึ้นในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และกรณีลมพายุขนาดใหญ่พัดเข้าสู่ชายฝั่งอ่าวไทยก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งเช่นกัน

          1.2 กระแสน้ำ และภาวะน้ำขึ้น-น้ำลง ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของตะกอนและมวลทรายบริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการกัดเซาะและการงอกของแผ่นดินในบางบริเวณ

          1.3 ลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งทะเล ลักษณะของชายฝั่งที่ต่างกันทำให้การกัดเซาะแต่ละบริเวณไม่เท่ากัน ในบริเวณอ่าวจะได้รับการกัดเซาะน้อยกว่าบริเวณทะเลเปิด เช่น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะได้รับผลกระทบรุนแรงเมื่อเกิดพายุที่ก่อตัวในทะเลจีนใต้ คลื่นจะเคลื่อนมากระทบแนวชายฝั่งโดยตรงเนื่องจากเป็นทะเลเปิด และในพื้นที่ชายฝั่งที่ลาดชันน้อยจะเกิดการกัดเซาะน้อยกว่าบริเวณที่ชายฝั่งมีความลาดชันมาก

  1. การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกิจกรรมของมนุษย์

           กิจกรรมของมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง จากการมุ่งเน้นพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานการผลิต แต่กลับให้ความสำคัญในการรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรน้อยเกินไป ทำให้ทรัพยากรที่มีความสำคัญถูกทำลายและเสื่อมโทรมลงทุกขณะ กิจกรรมที่เร่งกระบวนการกัดเซาะชายฝั่งให้รุนแรงมากขึ้น ได้แก่

           2.1 การพัฒนาขนาดใหญ่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เช่น การสร้างท่าเรือน้ำลึก ถนนเลียบชายฝั่ง และถมทะเลเพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

           2.2 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเน้นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น สร้างโรงแรม ที่พัก เส้นทางคมนาคม เกิดการรุกล้ำเข้าไปแนวสันทรายชายฝั่ง ซึ่งเป็นปราการที่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามธรรมชาติ

          2.3 การสร้างเขื่อน ฝายหรืออ่างเก็บน้ำต้นน้ำ โครงสร้างเหล่านี้มีผลให้ตะกอนที่ไหลตามแม่น้ำมาสะสมบริเวณปากแม่น้ำมีปริมาณลดลง ขาดตะกอนที่จะเติมทดแทนส่วนตะกอนเก่าที่ถูกพัดพาไปบริเวณอื่นโดยกระแสน้ำ ทำให้เกิดการกัดเซาะแนวชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง เช่น ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน เป็นต้น

          2.4 การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ป่าชายมีความสำคัญหลายประการ ประการหนึ่งคือ ช่วยดักและตกตะกอนโคลนทำให้เกิดดินงอกตามแนวชายฝั่ง และเป็นกำแพงป้องกันกระแสคลื่นและลมป้องกันการพังทลายของแนวชายฝั่งด้วย

          2.5 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลกระทบระบบนิเวศชายฝั่งและปะการัง สภาพอากาศแปรปรวน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล จะส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลทั่วประเทศและอาจก่อให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอีกด้วย

Exercise Files
No Attachment Found
No Attachment Found
รายการบทเรียน
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
0% Complete