รายการบทเรียน
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
Lesson: การเกิดแผ่นดินไหว
About Lesson

                  แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการปลดปล่อยพลังงานจากความเครียดที่เก็บอยู่ในหินใต้ผิวโลกอย่างทันทีทันใด กล่าวคือเป็นกระบวนการที่พื้นที่บนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเด่นชัด เมื่อแรงเค้น (stress) ที่เกิดขึ้นตามรอยแตก หรือรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นบนเปลือกโลก ภายในโลกถูกปลดปล่อยขึ้นมาสู่พื้นผิวโลกแผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

           แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries)การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในลักษณะนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรง โดยมีศูนย์กลางอยู่ในระดับตื้น (ลึกจากพื้นผิวน้อยกว่า 70 กิโลเมตร) เช่นบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก โดยรอยต่อซึ่งเกิดจากแผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกันมี 2 ลักษณะ คือ แผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่ออกจากกัน และแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากกัน

          แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries)เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นธรณีปะทะกันซึ่งเรียกว่า “เขตมุดตัว” (Subduction zone) การปะทะกันเช่นนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก (300 – 700 กิโลเมตร)  และหากเกิดขึ้นในมหาสมุทรก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เช่น สันเขาใต้สมุทรใกล้เกาะสุมาตรา และ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากันมี 3 รูปแบบคือ แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป และแผ่นธรณีทวีปชนกัน

          แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกันหรือสวนกัน (Transform fault)แม้ว่าแผ่นธรณีจะเคลื่อนที่ผ่านกันด้วยความเร็วเพียงปีละประมาณ 3 – 6 เซนติเมตร แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน จะสามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลได้ ดังเช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส์ที่เคยทำลายเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนประสบความเสียหายหนักเมื่อปี พ.ศ.2449 แต่โดยทั่วไปแล้วปรากฏการณ์จะนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น มีความรุนแรงปานกลาง ถ้าเกิดขึ้นบนแผ่นดินจะทำให้ถนนขาด สายน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล หรือทำให้เกิดหน้าผาและน้ำตก

Exercise Files
No Attachment Found
No Attachment Found
รายการบทเรียน
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
0% Complete