เนื้อหาของคอร์ส
หินและซากดึกดำบรรพ์
หินเป็นวัสดุแข็งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วย แร่ตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป สามารถจำแนกหินตามกระบวนการเกิดได้เป็น 3 ประเภท
ตัวอย่างหิน (สัปดาห์ที่ 2)
0/1
ทดสอบความรู้ (สัปดาห์ที่ 3 )
0/1
ซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4 )
0/1
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 4)
0/1
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ (สัปดาห์ที่ 5)
0/1
ลม และเครื่องบอกทิศทางลม (สัปดาห์ที่ 6)
0/1
ลมบก ลมทะเล (สัปดาห์ที่ 7)
0/1
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ผลของลมบก ลมทะเล และลมมรสุม (สัปดาห์ที่ 8)
0/1
ภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย (สัปดาห์ที่ 10)
0/1
การกัดเซาะชายฝั่ง (สัปดาห์ที่ 12)
0/1
การเกิดอุปราคา (สัปดาห์ที่ 14)
0/2
การเกิดปรากฏกาณ์สุริยุปราคา (สัปดาห์ที่ 15)
0/2
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 16)
0/1
ประโยชน์ของเทคโนโลยี (สัปดาห์ที่ 17)
0/1
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว16101 ป.6 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

กระบวนการเกิดซาก

          ลักษณะของการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ มักให้ความความสำคัญเกี่ยวกับอายุการก่อตัว เช่นเป็นซากที่มีการก่อตัวที่มาอายุเป็นหมื่นปีถึงพันล้านปี และวิวัฒนาการจากกระบวนการเกิดซาก ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยจากการถูกแปรสภาพเป็นกระบวนการเกิดซากนั้น มีปัจจัยสำคัญสองประการ คือ โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็งของสิ่งมีชีวิต กับกระบวนการเก็บรักษาซาก  

          นอกจากนี้ การเกิดซากจะมีกระบวนการ 2 อย่าง คือ การตกตะกอนทับถมลงบนซาก และการที่สารละลายของแร่ธาตุเข้าแทนที่ซากอย่างรวดเร็ว ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เมื่อแข็งตัวจึงกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ให้ศึกษาได้ ส่วนมากซากของสิ่งมีชีวิตจะถูกเก็บรักษาไว้ได้ดีบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ทะเลสาบและท้องทะเล เพราะบริเวณเหล่านี้จะมีตะกอนเม็ดเล็กสะสมตัวมาก สภาพแวดล้อมค่อนข้างสงบ ซากไม่ถูกทำลายให้แตกหักมากและถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใด ๆ ที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

กระบวนการของการเกิดฟอสซิลที่เกิดขึ้นเมื่อฝังสิ่งมีชีวิต (Permineralization)

          เป็นกระบวนการของการเกิดฟอสซิล ซากของสิ่งมีชีวิตจะมีวิวัฒนาการและรูปแบบการเปลี่ยนแปลงได้ในหลายลักษณะ โดยการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพตามธรรมชาติที่อินทรีย์สารเปลี่ยนแปลงจากส่วนประกอบเดิม แต่ยังคงรูปโครงสร้างให้เห็นอยู่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีหลายวิธี ดังนี้

         การกลายเป็นหิน (Pertrification)

         เป็นกระบวนการของการเกิดฟอสซิลที่ซากสิ่งมีชีวิตกลายเป็นหิน จากการที่เนื้อเยื่อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบดั้งเดิมของซาก ถูกแทนที่ด้วยการแทรกซึมของแร่ธาตุในรูพรุนของโครงสร้างสิ่งมีชีวิตเดิม เช่น ถูกแทนที่ด้วยสารซิลิกาในรูปของแร่ควอรตซ์ แร่คาลซิโคนีหรือแร่โอปอ   หรือ สารละลายแคลเซียมคาร์บอเนด โดยกระบวนการแทนที่ (replacement) โดยการถูกแทนที่นี้จะไม่ทำให้โครงร่างเดิมสูญเสียไป

         การเพิ่มคาร์บอน (Cabonization)

         เป็นกระบวนการของการเกิดฟอสซิลที่เกิดจากซากกลายเป็นสารคาร์บอนหรือถ่านติดอยู่ในชั้นหินหรือเป็นถ่านหิน

         ร่องรอยหรือรอยพิมพ์ (Mold)

         ร่องรอยที่ประทับไว้หรือฝังตัวอยู่ในชั้นดิน เช่น รอยเท้า รอยทางเดิน รอยหนอน รอยเจาะ รอยชอนไช ซึ่งอยู่ในชั้นตะกอน ต่อมาตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน ทำให้ร่องรอยนั้นถูกเก็บรักษาในชั้นหิน เป็นต้น

การบอกอายุของซากดึกดำบรรพ์หรืออายุหิน

      สามารถบอกได้ 2 แบบคือ

  • อายุเปรียบเทียบ (Relative Age) คืออายุทางธรณีวิทยาของซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา
  • อายุสัมบูรณ์ ( Absolute age ) หมายถึงอายุซากดึกดำบรรพ์ของหิน ลักษณะหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา (โดยมากวัดเป็นปี เช่น พันปี ล้านปี) โดยทั่วไปหมายถึงอายุที่คำนวณหาได้จากไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสี ขึ้นอยู่กับวิธีการและช่วงเวลาครึ่งชีวิต(Half life period)

      เป็นอย่างไรกันบ้าง เรื่องราวของซากดึกดำบรรพ์ยังเป็นที่น่าสนใจและค้นคว้าอีกมาก ไม่แน่ว่าคุณอาจเป็นคนต่อไปที่ได้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์