รายการบทเรียน
หน่วยที่ ๕ เรื่อง การอ่านวิเคาระห์ วิจารณ์ การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล วรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
การศึกษาเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ต้องฝึกวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น วิเคราะห์ลักษณะเด่นของเรื่อง เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และสังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
0/5
สัปดาห์ที่ 3 คำภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในวรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
คำยืมภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย คำภาษาเขมรในภาษาไทย คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย การยืมเป็นลักษณะของทุกภาษา ไม่ว่าภาษาใดที่ไม่มีภาษาอื่นเข้ามาปะปน เมื่อแต่ละชาติต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลจนเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษา ของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตน ประเภทของการยืม 1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า 2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิด การที่สองกลุ่มใช้ภาษาต่างกันร่วมสังคมเดียวกันหรือมีอาณาเขตใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวันทำให้เกิดการยืมภาษาซึ่งกันและกัน 3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน อิทธิพลของการยืม การยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีอิทธิพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้ จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่างๆ กันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเดียวกัน แต่เราเลือกใช้ตามโอกาสและตามความเหมาะสมทั้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้องกรองเพราะมีหลากคำ ประวัติศาสตร์การยืมของประเทศไทย ภาษาไทยมีการยืมจากภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนเป็นเวลานานแล้ว แม้ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงเมื่อปี พ.ศ. 1826 ก็ยังปรากฏคำยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนมากมายประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างชาติมาช้านานย่อมทำให้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก เช่น เขมร จีน ชวา มลายู ญวน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ อังกฤษ สาเหตุการยืมของภาษาไทย 1. ความสัมพันธ์ทางถิ่นฐาน การมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศ 2. ความสัมพันธ์ทางการค้า การติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศ 3. ความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม การเผยแพร่ ศิลปะ วรรณคดี ของต่างประเทศ สู่ประเทศไทย 4. การศึกษาและการกีฬา การที่นักเรียนไทยไปศึกษาที่ต่างประเทศทำให้รับวิชาความรู้ และวิทยาการมากมาย 5. ความสัมพันธ์ทางการฑูต การเจริญสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกัน ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
0/8
Lesson: สัปดาห์ที่ 13 ชั่วโมงที่ 2 เรื่องการทบทวนระดับภาษาและพระเวสสันดร
About Lesson

ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ  ดังนี้

             1) ภาษาระดับพิธีการ

             2) ภาษาระดับทางการ

             3) ภาษาระดับกึ่งทางการ

             4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป

             5) ภาาระดับกันเอง

             การแบ่งระดับภาษาดังกล่าวนี้ โอกาสและบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าเรื่องอื่นๆ

            
                          1) ภาษาระดับพิธีการ

              ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวสดุดี

กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่างเป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่ม การใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเรียกว่า วาทนิพนธ์ก็ได้ ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้น ถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่ง ยิ่งใหญ่จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น

                          2) ภาษาระดับทางการ

              ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก

อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน  อาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน

                          3) ภาษาระดับกึ่งทางการ 

              ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลงผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย

                          4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป      

          
              ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา แต่ยังไม่เป็นการส่วนตัวเต็มที่ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้นอาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน  จึงต้องคำนึงถึงความสุภาพมิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา

              5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก

  
              ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง ใช้พูดจากันในวงจำกัดอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัว    สถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาดในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวด ฯลฯ

              การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาทซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจ

 

Exercise Files
No Attachment Found
No Attachment Found
รายการบทเรียน
หน่วยที่ ๕ เรื่อง การอ่านวิเคาระห์ วิจารณ์ การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล วรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
การศึกษาเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ต้องฝึกวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น วิเคราะห์ลักษณะเด่นของเรื่อง เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และสังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
0/5
สัปดาห์ที่ 3 คำภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในวรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
คำยืมภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย คำภาษาเขมรในภาษาไทย คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย การยืมเป็นลักษณะของทุกภาษา ไม่ว่าภาษาใดที่ไม่มีภาษาอื่นเข้ามาปะปน เมื่อแต่ละชาติต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลจนเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษา ของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตน ประเภทของการยืม 1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า 2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิด การที่สองกลุ่มใช้ภาษาต่างกันร่วมสังคมเดียวกันหรือมีอาณาเขตใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวันทำให้เกิดการยืมภาษาซึ่งกันและกัน 3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน อิทธิพลของการยืม การยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีอิทธิพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้ จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่างๆ กันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเดียวกัน แต่เราเลือกใช้ตามโอกาสและตามความเหมาะสมทั้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้องกรองเพราะมีหลากคำ ประวัติศาสตร์การยืมของประเทศไทย ภาษาไทยมีการยืมจากภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนเป็นเวลานานแล้ว แม้ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงเมื่อปี พ.ศ. 1826 ก็ยังปรากฏคำยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนมากมายประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างชาติมาช้านานย่อมทำให้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก เช่น เขมร จีน ชวา มลายู ญวน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ อังกฤษ สาเหตุการยืมของภาษาไทย 1. ความสัมพันธ์ทางถิ่นฐาน การมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศ 2. ความสัมพันธ์ทางการค้า การติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศ 3. ความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม การเผยแพร่ ศิลปะ วรรณคดี ของต่างประเทศ สู่ประเทศไทย 4. การศึกษาและการกีฬา การที่นักเรียนไทยไปศึกษาที่ต่างประเทศทำให้รับวิชาความรู้ และวิทยาการมากมาย 5. ความสัมพันธ์ทางการฑูต การเจริญสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกัน ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
0/8
0% Complete