เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยที่ ๕ เรื่อง การอ่านวิเคาระห์ วิจารณ์ การโต้แย้งอย่างมีเหตุผล วรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
การศึกษาเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ต้องฝึกวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น วิเคราะห์ลักษณะเด่นของเรื่อง เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และสังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
0/5
สัปดาห์ที่ 3 คำภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในวรรณคดีหัวใจชายหนุ่ม
คำยืมภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย สาเหตุที่ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย คำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีต่อภาษาไทย คำภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีใช้ในภาษาไทย คำยืมที่มาจากภาษาสันสกฤต คำยืมที่มาจากภาษาอังกฤษ คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย คำภาษาเขมรในภาษาไทย คำภาษาชวา-มลายูที่มีใช้ในภาษาไทย คำภาษาอื่น ๆ ที่มีใช้ในภาษาไทย การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย การยืมเป็นลักษณะของทุกภาษา ไม่ว่าภาษาใดที่ไม่มีภาษาอื่นเข้ามาปะปน เมื่อแต่ละชาติต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีตกาลจนเกิดการนำคำหรือลักษณะทางภาษา ของอีกภาษาเข้าไปใช้ในภาษาของตน ประเภทของการยืม 1. ยืมเนื่องจากวัฒนธรรม กลุ่มที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมด้อยกว่าจะรับเอาวัฒนธรรมจาก กลุ่มที่มีความเจริญมากกว่า 2. ยืมเนื่องจากความใกล้ชิด การที่สองกลุ่มใช้ภาษาต่างกันร่วมสังคมเดียวกันหรือมีอาณาเขตใกล้ชิดกัน มีความสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวันทำให้เกิดการยืมภาษาซึ่งกันและกัน 3. ยืมจากคนต่างกลุ่ม การยืมภาษาเดียวกันแต่เป็นภาษาของผู้ใช้ที่อยู่ในสภาพที่ต่างกัน อิทธิพลของการยืม การยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย มีอิทธิพลต่อวงศัพท์ซึ่งการยืมทำให้ จำนวนศัพท์ในภาษามีการเพิ่มพูน เกิดวาระการใช้ศัพท์ต่างๆ กันเป็นคำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเดียวกัน แต่เราเลือกใช้ตามโอกาสและตามความเหมาะสมทั้งยังมีประโยชน์ในการแต่งบทร้องกรองเพราะมีหลากคำ ประวัติศาสตร์การยืมของประเทศไทย ภาษาไทยมีการยืมจากภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนเป็นเวลานานแล้ว แม้ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงเมื่อปี พ.ศ. 1826 ก็ยังปรากฏคำยืมมาจากภาษาบาลีสันสกฤต และเขมรเข้ามาปะปนมากมายประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างชาติมาช้านานย่อมทำให้มีภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นจำนวนมาก เช่น เขมร จีน ชวา มลายู ญวน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย โปรตุเกส ฝรั่งเศส พม่า มอญ อังกฤษ สาเหตุการยืมของภาษาไทย 1. ความสัมพันธ์ทางถิ่นฐาน การมีอาณาเขตติดต่อหรือใกล้เคียงกันกับมิตรประเทศ 2. ความสัมพันธ์ทางการค้า การติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับต่างประเทศ 3. ความสัมพันธ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม การเผยแพร่ ศิลปะ วรรณคดี ของต่างประเทศ สู่ประเทศไทย 4. การศึกษาและการกีฬา การที่นักเรียนไทยไปศึกษาที่ต่างประเทศทำให้รับวิชาความรู้ และวิทยาการมากมาย 5. ความสัมพันธ์ทางการฑูต การเจริญสัมพันธไมตรีซึ่งกันและกัน ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
0/8
ภาษาไทย ท 31101 ม.4/4 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

สาระสำคัญหัวใจชายหนุ่ม (ตอนที่ 2 )

ย่อจดหมาย เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม

ฉบับที่ 1 ประพันธ์เขียนจดหมายขณะเดินทางอยู่บนเรือในเนื้อความกล่าวถึงความทุกข์ใจที่ต้องจากประเทศอังกฤษเดินทางกลับมาประเทศไทยและบอกเล่าถึงชีวิต ผู้คนบนเรือ และกิจกรรมต่างที่ประพันธ์ทำขณะอยู่บนเรือ

ฉบับที่ 4 ประพันธ์เล่าถึงภารกิจที่ต้องทำหลังจากกลับถึงเมืองไทยว่าพ่อได้พาไปฝากงานในพระราชสำนักแต่ไม่มีตำแหน่งว่าง เล่าถึงความรู้สึกที่อยากใช้ความสามารถของตัวเองในการหางานทำ เล่าถึงการที่ตัวเองจะถูกคลุมถุงชนกับแม่กิมเน้ย ลูกสาวอากรเพ้ง นอกจากนี้ประพันธ์ยังเขียนข้อเสียของกรุงเทพที่ไม่ค่อยมีสถานที่เที่ยวดีดี

ฉบับที่ 5 ประพันธ์เล่าถึงว่าตนเองได้เข้าทำงานในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ เล่าถึงแม่กิมเน้ยว่าหน้าเหมือนนางเอกงิ้ว และเล่าถึงผู้หญิงที่เจอที่โรงพัฒนากร ว่าชื่อ น.ส. อุไร พรรณโสภา เป็นลูกของพระพินิฐพัฒนากร

ฉบับที่ 6 ประพันธ์เล่าถึงว่าตนเองได้ทำความรู้จักกับแม่อุไรแล้ว ทั้งได้นั่งเรือไปดูการแต่ไฟในแม่น้ำด้วยกัน และเที่ยวด้วยกันทุกวันในช่วงฤดูหนาวจนชายหนุ่มทุกคนอิจฉา

ฉบับที่ 9 ประพันธ์เล่าว่าตนเองได้แต่งงานกับแม่อุไรแล้ว เนื่องจากแม่อุไรตั้งครรภ์ โดยจัดงานแต่งที่บ้านเนื่องจากรอพระราชทานงานแต่งไมได้ และไป honey moon ที่หัวหิน ซึ่งเป็นที่ที่ประพันธ์และแม่อุไรรักกันอย่างจริงจัง

ฉบับที่ 11 ประพันธ์เขียนจดหมายหลังจากกลับมาจากการ honey moon ที่หัวหิน ประพันธ์เล่าถึงการทะเลาะเบาะแว้งกับแม่อุไร ซึ่งเป็นการทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง ประพันธ์จะทำอะไรก็ขัดใจแม่อุไรไปหมด และเล่าว่าแม่อุไรชอบทำตัวเหนือตนเอง

ฉบับที่ 12 หลังจากแม่อุไรแท้งลูก ก็มีกิริยาเปลี่ยนไป ออกเที่ยวกลางคืนคนเดียวทุกวัน สร้างหนี้สินมากมาย และไปสนิทสนมกับพระยาตระเวนนคร ถึงขั้นไปค้างคืนที่บ้าน ประพันธ์จึงทำการหย่าขาดกับแม่อุไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ฉบับที่ 13 หลังจากหย่าขาดกับแม่อุไร แม่อุไรก็ได้ย้ายไปอยู่กับพระยาตระเวนนครอย่างเปิดเผย และเล่าถึงประวัติของพระยาตระเวน ว่ามีเมียอยู่แล้วถึง 7 คน ประพันธ์ยังเล่าถึงความก้าหน้าในหน้าที่การงานของตนเองอีกด้วย

ฉบับที่ 15 ประพันธ์เล่าว่าช่วงงานฤดุหนาวเห็นพระยาตระเวนไปเที่ยวกับแม่สร้อย ซึ่งเป็นเพื่อนของลูกสาวพระยาตระเวนนครอยู่ตลอด แต่แม่อุไรก็ไม่ได้ทำอะไร อาจเพราะกลัวว่าจะไม่มีที่อยู่ เพราะแม่อุไรก็ได้ตัดขาดกับพ่อของตนเองแล้ว

ฉบับที่ 17 แม่อุไรไปหาประพันธ์ที่บ้าน มาอ้อนวอนขอให้ประพันธ์ช่วยรับเลี้ยงดู เนื่องจากแม่อุไรโดนไล่ออกจากบ้านของพระยาตระเวนนครแล้ว ประพันธ์จึงแนะนำให้แม่อุไรกลับไปง้อพ่อ และกลับไปอยู่กับพ่อดังเดิม

ฉบับที่ 18 ประพันธ์เล่าว่าแม่อุไรได้แต่งงานใหม่กับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าร่ำรวย และประพันธ์เองก็กำลังจะแต่งงานกับแม่ศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก และให้ประเสริฐเตรียมตัวมาเป็นเพื่อนเจ้าบ่าวได้เลย

ไฟล์ตัวอย่าง
ชิ้นงานภาษาไทยพื้นฐาน.pdf
ขนาด: 77.35 KB