รายการบทเรียน
บทที่ 10 กรด-เบส
สารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือ สารละลายที่นำไฟฟ้า เพราะมีตัวละลาย เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte) ซึ่งสามารถแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้ สารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ คือ สารละลายที่ไม่นำไฟฟ้า เพราะมีตัวละลายเป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์ (non-electrolyte) ซึ่งไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้ สารละลายกรดทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกัน คือ H3O+ ซึ่งเป็นไอออนที่แสดงสมบัติของกรด ทำให้สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สารละลายเบสทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกัน คือ OH- ซึ่งเป็นไอออนที่แสดงสมบัติของเบส ทำให้สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียส กล่าวว่า กรด คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน ส่วนเบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี กล่าวว่า กรด คือ สารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น ส่วนเบส คือ สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น สารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมีจำนวนโปรตอนต่างกัน 1 โปรตอน สารบางชนิดสามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกรดและเบส เช่น น้ำ เรียกสารประเภทนี้ว่า แอมโฟเทอริก หรือแอมฟิโพรติก ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส กล่าวว่า กรด คือ สารที่รับคู่อิเล็กตรอนจากสารอื่น ส่วนเบส คือ สารที่ให้คู่อิเล็กตรอนแก่สารอื่น กรดแก่และเบสแก่เป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ ซึ่งแตกตัวเป็นไอออนได้ดีมาก หรือแตกตัวได้หมด กรดอ่อนแตกตัวเป็นไอออนได้น้อย การแตกตัวของกรดอ่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ในสารละลายจึงมีทั้งโมเลกุลของกรดอ่อนและไอออนที่เกิดจากการแตกตัว เบสอ่อนแตกตัวเป็นไอออนได้น้อย การแตกตัวของกรดเบสเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ ในสารละลายจึงมีทั้งโมเลกุลของเบสอ่อนและไอออนที่เกิดจากการแตกตัว
0/13
Lesson: 8. สารละลายบัฟเฟอร์
About Lesson
Exercise Files
No Attachment Found
No Attachment Found
รายการบทเรียน
บทที่ 10 กรด-เบส
สารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือ สารละลายที่นำไฟฟ้า เพราะมีตัวละลาย เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte) ซึ่งสามารถแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้ สารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์ คือ สารละลายที่ไม่นำไฟฟ้า เพราะมีตัวละลายเป็นสารนอนอิเล็กโทรไลต์ (non-electrolyte) ซึ่งไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนในสารละลายได้ สารละลายกรดทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกัน คือ H3O+ ซึ่งเป็นไอออนที่แสดงสมบัติของกรด ทำให้สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง สารละลายเบสทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกัน คือ OH- ซึ่งเป็นไอออนที่แสดงสมบัติของเบส ทำให้สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียส กล่าวว่า กรด คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน ส่วนเบส คือ สารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน ทฤษฎีกรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี กล่าวว่า กรด คือ สารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น ส่วนเบส คือ สารที่รับโปรตอนจากสารอื่น สารที่เป็นคู่กรด-เบสกันจะมีจำนวนโปรตอนต่างกัน 1 โปรตอน สารบางชนิดสามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกรดและเบส เช่น น้ำ เรียกสารประเภทนี้ว่า แอมโฟเทอริก หรือแอมฟิโพรติก ทฤษฎีกรด-เบสของลิวอิส กล่าวว่า กรด คือ สารที่รับคู่อิเล็กตรอนจากสารอื่น ส่วนเบส คือ สารที่ให้คู่อิเล็กตรอนแก่สารอื่น กรดแก่และเบสแก่เป็นอิเล็กโทรไลต์แก่ ซึ่งแตกตัวเป็นไอออนได้ดีมาก หรือแตกตัวได้หมด กรดอ่อนแตกตัวเป็นไอออนได้น้อย การแตกตัวของกรดอ่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ในสารละลายจึงมีทั้งโมเลกุลของกรดอ่อนและไอออนที่เกิดจากการแตกตัว เบสอ่อนแตกตัวเป็นไอออนได้น้อย การแตกตัวของกรดเบสเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ ในสารละลายจึงมีทั้งโมเลกุลของเบสอ่อนและไอออนที่เกิดจากการแตกตัว
0/13
0% Complete