วิชานาฏศิลป์ ศ๓๑๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑
เกี่ยวกับคอร์ส
ศึกษา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์เกี่ยวกับรูปแบบประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการ ความงามและคุณค่าของกรแสดงนาฏศิลป์ การละครไทยและสากล บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของไทยยุคสมัยต่าง ๆ การแสดงพื้นเมืองภาคต่าง ๆ การแสดงนาฏศิลป์ในโอกาสต่าง ๆ การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่และเป็นหมู่ ความหมาย ประวัติความเป็นมา ท่าทาง เพลงที่ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ หลักการสร้างสรรค์ และการวิจารณ์ หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร ละครสร้างสรรค์ ความเป็นมา องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์ ละครพูด ละครโศกนาฏกรรม ละครสุขนาฏกรรม ละครแนวเหมือนจริงและไม่เหมือนจริง เทคนิคการใช้แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์ สถานที่ และเครื่องแต่งกายในการจัดการแสดงนาฏศิลป์ การประเมินคุณภาพด้านการแสดง และคุณภาพองค์ประกอบการแสดง สร้างสรรค์ผลงาน จัดการแสดงในวันสำคัญของโรงเรียน จัดชุดการแสดงประจำโรงเรียน การมีส่วนร่วมในการจัดการด้านพลังงาน การประหยัดพลังงาน ศิลปะวัฒนธรรมของประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอแนวคิดอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะกระบวนการใช้ชีวิต ทักษะกระบวนการสื่อสาร ทักษะกระบวนการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ กล้าคิด กล้าแสดงออกทางนาฏศิลป์และละครอย่างสร้างสรรค์ เห็นคุณค่า ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และสามารถนำมาประยุกต์ใข้ในชีวิตประจำวัน
เนื้อหาของคอร์ส
บทที่ ๑ การสืบสานนาฏศิลป์ไทย
-
แบบทดสอบก่อนเรียนรู้ บทที่ ๑ การสืบสานนาฏศิลป์ไทย
-
๑ คุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิลป์
00:00 -
๒ สุนทรียะภาพของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
-
๓ ลักษณะและกระบวนการสืบทอดนาฏศิลป์ไทย
-
๔ การจัดกิจกรรมเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ไทย
-
๕ การแสดงนาฏศิลป์ในโอกาสต่างๆ
-
๖ แนวทางการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย