วิชาดนตรี ศ12101 ป.2 ปีการศึกษา 2567
เกี่ยวกับคอร์ส
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
รหัส ศ12101 รายวิชา ศิลปะ ภาคเรียนที่ 1-2 เวลา 20 ชั่วโมง
สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน : ปลายปี = 80 : 20
ศึกษา ค้นคว้าและปฏิบัติเกี่ยวกับรูปร่าง รูปทรงที่พบเห็นในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น รูปกลม รี
สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และกระบอก ระบุทัศนธาตุที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมและงานทัศนศิลป์ โดยเน้นเรื่องเส้น สี รูปร่างรูปทรงในสิ่งแวดล้อมและในงานทัศนศิลป์ประเภทต่างๆ เช่น งานวาด งานปั้น และงานพิมพ์ภาพ
การสร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ทัศนธาตุที่เน้นเส้น รูปร่างการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและชุมชน ทักษะพื้นฐานการใช้วัสดุอุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์ 3 มิติ การสร้างภาพปะติดจากกระดาษ โดยการตัดหรือ ฉีกกระดาษมีวินัยในการใช้จ่าย การประหยัดอดออม การนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์งานให้เกิดประโยชน์การวาดภาพถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของตนเองและเพื่อนบ้าน
การเลือกงานและบรรยายเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวของตนเองและเพื่อนบ้านเลือกงานทัศนศิลป์และบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็น รวมถึงเนื้อหาเรื่องราวการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เป็นรูปแบบงานโครงสร้างเคลื่อนไหว บอกความสำคัญของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน อภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ประเภทต่าง ๆ ในท้องถิ่น โดยเน้นถึงวิธีการสร้างงาน และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และมีค่านิยม 12 ประการ
จำแนกแหล่งกำเนิดของเสียงที่ได้ยินจากเสียงเครื่องดนตรีและเสียงมนุษย์การฝึกโสตประสาทจำแนกคุณสมบัติของเสียง สูง-ต่ำ ดัง-เบา ยาว-สั้น ของดนตรีการเคาะจังหวะหรือเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเนื้อหา ในบทเพลงรณรงค์การทิ้งขยะการรู้จักจัดการกับขยะของตนเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระของผู้อื่น การเล่นเครื่องดนตรีประกอบเพลง ร้องเพลงง่ายๆที่เหมาะสมกับวัยได้พร้อมบอกความหมายและความสำคัญของเพลงปลุกใจ เพลงสอนใจรู้จักนำความรู้เรื่องการขับร้องเพลงเศรษฐกิจพอเพียง และนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องเหมาะสม บอกความสัมพันธ์ของเสียงร้อง
เสียงเครื่องดนตรีในบทเพลงท้องถิ่นโดยใช้คำง่ายๆแสดงและเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีในท้องถิ่นเนื่องในโอกาสพิเศษที่สำคัญในโรงเรียน และ วันสำคัญต่างๆ
การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ เช่น การนั่ง การยืน การเดินการประดิษฐ์ท่าจากการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ ในบทเพลงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ การฝึกภาษาท่าสื่อความหมายแทนอากัปกริยาประกอบบทเพลงพอใจเท่าที่มีการฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนลำตัว การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบจังหวะอย่างสร้างสรรค์มารยาทในการชมการแสดงหรือมีส่วนร่วม ระบุวิธีการเล่นและกติกาในการละเล่นพื้นบ้านเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่นพื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิตของคนไทยระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้านโดยใช้กระบวนการคิด การระบุ การสาธิต การจำแนก การอภิปราย การสร้างงานการบอกเล่าและอธิบาย วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ กระบวนการกลุ่ม และกระบวนการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการทำงานและชีวิตประจำวัน มีความชื่นชมเห็นคุณค่าของศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5, ป.2/6, ป.2/7, ป.2/8
ศ 1.2 ป.2/1, ป.2/2
ศ 2.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5
ศ 2.2 ป.2/1, ป.2/2
ศ 3.1 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3
ศ 3.2 ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3
รวมทั้งหมด 25 ตัวชี้วัด