วิชาคณิตศาสตร์ ค22101 ม.2 ภาคเรียนที่ 1

คอร์สที่สนใจ แชร์
แชร์คอร์ส
ลิงก์หน้า
แชร์บนโซเชียล

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

รหัสวิชา ค22101                        รายวิชาคณิตศาสตร์                                 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60 ชั่วโมง   สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน : ปลายภาค 70 : 30                                                    จำนวน  1.5  หน่วยกิต

ศึกษาเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม การคูณและการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้ในชีวิตจริง การเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยมซ้ำ การเขียนทศนิยมซ้ำในรูปเศษส่วน จำนวนจริง สมบัติของจำนวนจริง รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง การหารากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริงโดยการแยกตัวประกอบ  การประมาณค่า เปิดตาราง  และใช้เครื่องคำนวณ  และการนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนจริงไปใช้ในชีวิตจริง เอกนาม การบวกและการลบเอกนาม พหุนาม การบวกและการลบพหุนาม การคูณระหว่างเอกนามกับเอกนาม การคูณระหว่างเอกนามกับพหุนาม การคูณระหว่างพหุนามกับพหุนาม การหารเอกนามด้วยเอกนาม การหารพหุนามด้วยเอกนามที่มีผลหารเป็นพหุนาม การแปลง การแปลงทางเรขาคณิต การเลื่อนขนาน  การสะท้อน และการหมุน ความสัมพันธ์ของการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุน และการนำสมบัติของการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนไปใช้ในชีวิตจริง ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต ความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง ความเท่ากันทุกประการของมุม ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน-มุม-ด้าน รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ มุม-ด้าน-มุม รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่สัมพันธ์กันแบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน และการนำความรู้เกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการไปใช้ในการแก้ปัญหา เส้นขนานและมุมภายใน เส้นขนานและมุมแย้ง เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม การให้เหตุผลและแก้ปัญหาโดยใช้สมบัติของเส้นขนานและความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม

โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

ตัวชี้วัด

ค 1.1 ม.2/1

ค 1.1 ม.2/2

ค 1.2 ม.2/1

ค 2.2 ม.2/2

ค 2.2 ม.2/3

ค 2.2 ม.2/4

รวม 6 ตัวชี้วัด

แสดงเพิ่มเติม

คุณจะได้เรียนรู้อะไร?

  • 1. ใช้สมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • 2. ใช้สมบัติของจำนวนจริงในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • 3. ใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • 4. ใช้ความรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • 5. ใช้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • 6. นำความรู้เกี่ยวกับสมบัติของเส้นขนานและรูปสามเหลี่ยมไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

เนื้อหาของคอร์ส

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เลขยกกำลัง เวลา 8 ชั่วโมง
เลขยกกำลังเป็นสัญลักษณ์ใช้แสดงจำนวนที่เกิดจากการคูณตัวเองซ้ำกันหลาย ๆ ตัว สำหรับเลขยกกำลังที่มีฐานเดียวกันและเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม สามารถนำมาคูณและหารกันได้ โดยใช้สมบัติการคูณและการหารของเลขยกกำลัง ส่วนสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เป็นการเขียนจำนวนในรูปการคูณของจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 กับเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นสิบและเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มนิยมใช้กับจำนวนที่มีค่ามาก ๆ หรือมีค่าน้อย ๆ รวมทั้งการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้ในชีวิตจริง

  • เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม เวลา 2 ชั่วโมง
  • การคูณและการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม เวลา 3 ชั่วโมง
  • สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ เวลา 1 ชั่วโมง
  • การนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้ในชีวิตจริง เวลา 2 ชั่วโมง
  • ใบงานเรื่องเลขยกกำลัง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 จำนวนจริง เวลา 12 ชั่วโมง
จำนวนจริงประกอบด้วยจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ ซึ่งจำนวนตรรกยะเป็นจำนวนที่เขียนในรูปเศษส่วนได้ และเศษส่วนทุกจำนวนสามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้ การหารากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริงสามารถหาได้โดยการแยกตัวประกอบ การประมาณค่าเปิดตาราง และใช้เครื่องคำนวณ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนจริงในชีวิตจริงหรือชีวิตประจำวันได้โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างการยกกำลังสองกับรากที่สองและการยกกำลังสามกับรากที่สามของจำนวนจริง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พหุนาม เวลา 12 ชั่วโมง
นิพจน์ที่เขียนในรูปการคูณของค่าคงตัวกับ ตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของ ตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก เรียกว่า เอกนาม โดยส่วนที่เป็นค่าคงตัว เรียกว่า สัมประสิทธิ์ และผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวในเอกนาม เรียกว่า ดีกรีของเอกนาม นิพจน์ที่อยู่ในเอกนามหรือเขียนให้อยู่ในรูปการบวกของเอกนามตั้งแต่สองเอกนามขึ้นไป เรียกว่า พหุนาม และดีกรีสูงสุดของพหุนามที่อยู่ในรูปผลสำเร็จที่ไม่มีพจน์ที่คล้ายกัน เรียกว่า ดีกรีของพหุนาม การบวกพหุนามทำได้โดยนำพหุนามมาเขียนในรูปการบวก และบวกพจน์ที่คล้ายกันในแต่ละพหุนามเข้าด้วยกัน การลบพหุนามทำได้โดยการบวกพหุนามตัวตั้งด้วยพหุนามตรงข้ามกับตัวลบ การคูณพหุนามสามารถใช้สมบัติต่าง ๆ เช่น สมบัติการแจกแจง สมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ ซึ่งมีค่าเท่ากับการนำแต่ละพจน์ของพหุนามหนึ่งไปคูณทุกพจน์ของอีกพหุนามหนึ่ง แล้วนำพจน์ที่คล้ายกันมารวมกัน การหารพหุนามทำได้โดยนำตัวหารไปหารทุกพจน์ของตัวตั้งแล้วนำผลที่ได้มารวมกัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การแปลงทางเรขาคณิต เวลา 10 ชั่วโมง
การเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนเป็นการแปลงทางเรขาคณิต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของรูปเรขาคณิตบนระนาบ โดยที่รูปร่างและขนาดยังคงเดิม พิกัดของรูปต้นแบบและภาพจากการแปลงทางเรขาคณิตบนระบบพิกัดฉากจะมีความสัมพันธ์กัน โดยที่ระยะระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ของรูปเรขาคณิตนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความเท่ากันทุกประการ เวลา 10 ชั่วโมง
สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม ช่วยในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาทางเรขาคณิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เส้นขนาน เวลา 8 ชั่วโมง
การแก้ปัญหาทางเรขาคณิตอาจใช้สมบัติเกี่ยวกับความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม และสมบัติของเส้นขนานช่วยในการให้เหตุผลสนับสนุนข้อพิสูจน์

การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน

ยังไม่มีรีวิว
ยังไม่มีรีวิว

Want to receive push notifications for all major on-site activities?