เกี่ยวกับบทเรียน
องค์ประกอบสำคัญของละครไทย
- ต้องมีเรื่อง ตัวละครจะเจรจาไปตามเนื้อเรื่องของบทละคร บุคลิกลักษณะของตัวละครได้ชัดเจน
- มีเนื้อหาสรุป หรือแนวคิดของเรื่อง เช่น บ่งบอกความรัก ความเสียสละ ความกล้าหาญ หรือมุ่งสอนคติธรรม เป็นต้น
- ต้องสร้างบุคลิกลักษณะของตัวละคร นิสัย บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทางของตัวละครต้องสอดรับกับเนื้อหาสรุป
- ต้องมีบรรยากาศ ละครต้องสร้างบรรยากาศให้กลมกลืนกับการแสดงของตัวละคร เช่น ฉาก แสง สี เสียง เป็นต้น
ละครรำ
ละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรำดำเนินเรื่อง มี ๒ ประเภท คือ
- ละครรำแบบดั้งเดิม
- ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
ละครรำแบบดั้งเดิม
ละครชาตรี
- เป็นละครรำแบบแรกของละครไทย
- กำเนิดขึ้นในสมัยอยุธยา ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย
- มีผู้แสดงหลัก ๓ ตัว คือตัวนายโรง (พระ) ตัวนาง และตัวตลก
- นิยมแสดงเรื่องพระสุธนและนางมโนห์รา จึงเรียกการแสดงละครประเภทนี้ว่า โนราชาตรี เป็นที่นิยมแพร่หลายกันในภาคใต้
ละครนอก
- ใช้แสดงกันนอกเขตพระราชวัง
- เริ่มต้นมาจากการละเล่นพื้นเมือง ต่อมามีการจับเป็นเรื่องเป็นตอน เป็นละครที่ดัดแปลงมาจากละครโนราชาตรี
- ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน
ละครใน
- เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา แผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- บทละครที่นิยมนำมาแสดงมีเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุท อิเหนา และรามเกียรติ์
- สมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นับว่าเป็นยุคทองของการละครและวรรณคดี
- กรมขุนพิทักษ์มนตรี เป็นผู้สืบทอดการแสดงละครใน
โขน
- เป็นการแสดงที่คล้ายละคร แต่สวมศีรษะที่เรียกว่า หัวโขน
- โขนแต่เดิมมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าโขนเป็นราชูปโภคส่วนพระองค์ มีการฝึกหัดไว้แสดงเฉพาะงานพระราชพิธี
- การแสดงโขนนิยมเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่
ละครดึกดำบรรพ์
- มีการแสดงเป็นฉากแบบตะวันตก
- ผู้แสดงร้องรำเอง ไม่มีลูกคู่
- ต้นเสียงร้องเหมือนละครใน ไม่มีการบรรยายกิริยาของตัวละคร
ละครพันทาง
- ปรับตามอย่างละครนอก แค่เพิ่มท่ารำที่มาจากกิริยาท่าทางของชาติต่างๆ
- เรื่องที่แสดงนำมาจากพงศาวดาร วรรณคดี เช่น สามก๊ก ราชาธิราช พระลอ เป็นต้น
ละครเสภา
- ดำเนินเรื่องด้วยการขับเสภา มีสำเนียงบอกภาษา เช่น เสภาลาว เสภามอญ เป็นต้น
- ใช้กรับขยับตามแบบแผน มีตัวละครรำประกอบบทเสภาและ บทร้อง
- นิยมนำมาแสดง คือ เรื่อง ขุนช้างขุนแผน และเรื่อง ไกรทอง
โขน
- เป็นการแสดงที่คล้ายละคร แต่สวมศีรษะที่เรียกว่า หัวโขน
- โขนแต่เดิมมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก พระมหากษัตริย์ทรงถือว่าโขนเป็นราชูปโภคส่วนพระองค์ มีการฝึกหัดไว้แสดงเฉพาะงานพระราชพิธี
- การแสดงโขนนิยมเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ละครที่ไม่ใช้ท่ารำ
ละครร้อง
- เป็นละครร้องล้วนๆ ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีบทพูดแทรก ตัวละครขับร้องกลอนโต้ตอบกัน โดยใช้ท่าทีอย่างสามัญชน
- มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง ละครร้องสลับพูดมีการเพิ่มบทพูดสลับทบทวนบทร้อง
- ตัวละครเอกใช้ผู้หญิงแสดงทั้งหมด ผู้ชายเป็นเพียงตัวประกอบ
ละครพูด
- สมัยแรกๆ ใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วนๆ จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงเรื่อง กลแตก จึงใช้ผู้แสดงเป็นชายจริงหญิงแท้
- การแสดงดำเนินเรื่องด้วยการพูด เรียกว่า ละครพูดล้วนๆ และถ้ามีร้องเพลงสลับเรียกว่า ละครพูดสลับลำ
- มีเพียงเรื่องเดียวที่บทเจรจามีลักษณะเป็นคำฉันท์ คือมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ