เศษส่วนของพหุนาม
ให้ 𝑃 และ 𝑄 เป็นพหุนาม โดยที่ 𝑄 ≠ 0
เรียก P/Q ว่าเศษส่วนของพหุนาม ที่มี 𝑃 เป็นตัวเศษ และ 𝑄 เป็นตัวส่วน
การบวกเศษส่วนของพหุนาม
เมื่อมี P, Q และ R เป็นพหุนาม โดยที่ 𝑄 ≠ 0
จะได้ว่า P/Q+R/Q=(P+R)/Q
การบวกเศษส่วนของพหุนาม ถ้าตัวส่วนไม่เท่ากันต้องทำตัวส่วนให้เท่ากันโดยการหาค.ร.น.
ตัวอย่างที่ 1 จงหาค่าของ (4x-1)/3+(x-5)/2
วิธีทำ ค.ร.น. ของ 3 และ 2 เท่ากับ 6
(4x-1)/3+(x-5)/2= 2(4x-1)/(3×2)+3(x-5)/(2×3)
= (8x-2)/6+(3x-15)/
= (8x-2+3x-15)/6 = (11x-17)/6
ดังนั้น (4x-1)/3+(x-5)/2 = (11x-17)/6
ตัวอย่างที่ 2 จงหาค่าของ 3/4x+6/2x
วิธีทำ
3/4x+6/2x=3/4x+(6×2)/(2x×2)
= 3/4x+12/4x
=(3+12)/4x =15/4x
ดังนั้น 3/x+6/(x+2) = 15/4x
ตัวอย่างที่ 3
จงหาค่าของ 3/x+6/(x+2)
วิธีทำ ค.ร.น. ของ x และ (x+2) เท่ากับ x(x+2)
( 3)/x+6/(x+2) = 3(x+2)/x(x+2) +6(x)/x(x+2)
= (3x+6+6x)/x(x+2)
= (9x+6)/x(x+2)
= (9x+6)/(x^2+2x)
ดังนั้น 3/x+6/(x+2) = (9x+6)/(x^2+2x)