รายการบทเรียน
หน่วยที่5 การเลือกใช้อุปกรณ์งานช่าง
- ความสำคัญ ประโยชน์ ชนิด การเลือกใช้ วิธีการใช้และการเก็บรักษา -ให้นักเรียนรู้จักการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ -ให้นักเรียนใช้อุปกรณ์มีความปลอดภัยในการใช้งาน
0/5
หน่วยที่6การประดิษฐ์วัสดุธรรมชาติ
งานประดิษฐ์เป็นกิจกรรมที่ ถ่ายทอดความรู้ ความคิด และ ประสบการณ์ สร้างสรรค์ออกมาในรูปของผลงานที่สามารถนําไปใช้ ประโยชน์เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ซึ่งมีทั้งประเภทงานประดิษฐ์ทั่วไป และงานประดิษฐ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทยในการสร้างสรรค์งานใหญ่มีความ สวยงามประณีต สิ่งสําคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องมือและ อุปกรณ์
0/3
หน่วยที่7 งานอาชีพ
การเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองนั้น ควรใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพมาช่วยในการพิจารณา เมื่อได้เลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองแล้วต้องเตรียมความพร้อมด้านต่างๆเพื่อเข้าสู่งานอาชีพ และประกอบอาชีพอย่างมีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในอาชีพที่เลือกทำ
0/5
Lesson: เครื่องมืองานช่าง สัปดาห์ที่ 2 (8-12 พ.ย. 2564)
About Lesson

เครื่องมืองานช่าง
เครื่องมืองานช่างพื้นฐาน เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานช่าง เพราะว่าเครื่องมือเป็นสิ่งที่จะช่วยผ่อนแรงในการทำงานของช่าง และช่วยให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย ผลงานที่ออกมาดี สวยงาม เป็นที่ต้องการของผู้ใช้ โดยเราจะต้องรู้จักการใช้งานเครื่องมืออย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับชนิดของงานที่จะทำ ฉะนั้นในการเลือกใช้เครื่องมือจึงถือเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่สำคัญในการทำงานช่าง เครื่องมือในงานช่างพื้นฐานมีมากมายหลายชนิด ในเรื่องนี้จะกล่าวเฉพาะเครื่องมือที่จำเป็นและใช้เป็นประจำในปัจจุบันดังนี้
1.เครื่องมือและอุปกรณ์งานช่างพื้นฐาน
1.1 ค้อน สำหรับใช้งานช่างมีหลายชนิด เช่น ค้อนหงอน ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู ค้อนเหลี่ยมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ ค้อนไม้เป็นค้อนที่ทำจากเนื้อไม้แข็ง จึงทำให้มีความยืดหยุ่นดีกว่าเหล็ก เมื่อใช้เคาะชิ้นส่วนใดๆ จึงไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสียหายน้อย ค้อนยางใช้สำหรับตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน ค้อนหัวกลมใช้ในการขึ้นรูปโลหะ
1.2 คีม เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเดินสายไฟมาก ใช้ตัด ดัด งอ โค้งและปอกสายไฟคีมที่มีด้ามเป็นฉนวนหุ้ม จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน คีมที่ใช้ในการเดินสายไฟ พอจะแยกออกได้เป็น 4 ชนิด คือ คีมปอกสายและตัดสาย คีมปากจระเข้ คีมปากจิ้งจกและคีมยํ้าหัวต่อสาย
1.3 ไขควง เป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งในงานไฟฟ้าเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน เช่น ต่อฟิวส์ ใส่สวิตซ์ใส่ดวงโคม ขันตะปูเกลียวหรือสกรูให้แน่น ถอนตะปูเกลียวออกจากที่ยึด ไขควงมีหลาย ชนิดตามลักษณะที่ใช้งาน คือ ไขควงปากแบน ไขควงบล็อก ไขควงปากสี่แฉก ไขควงเช็คไฟ (Check lamp) ไขควงชุด
1.4 สว่านเจาะไม้ ใช้ในการเดินสายไฟมาก เพราะบางครั้งต้องเจาะรู เพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น พุกประกับลูกถ้วย กล่องไม้ร้อยสาย เป็นต้น สว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด เช่น สว่านข้อเสื่อ สว่านเฟือง สว่านมือชนิดกระแทก สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังตึก ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
1.สว่านมือหรือสว่านเฟืองใช้สำหรับเจาะรูขนาดเล็ก
2.สว่านไฟฟ้าเป็นเครื่องมือเจาะที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ใช้เจาะวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ปูน โลหะไม้ และพลาสติก ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน
3.สว่านข้อเสือ มีลักษณะเป็นรูปตัวยู มีคันหมุน ต้องใช้ร่วมกับดอกสว่านที่มีขนาด ระหว่าง ¼ – 1 นิ้ว มักใช้ในงานไม้
1.5 มีดหรือ Cutter ใช้สำหรับตัด ปอก ขูดหรือทำความสะอาดสายไฟ ใช้มากในการเดินสายไฟฟ้า วิธีใช้และการบำรุงรักษา การปอกสายไฟควรตะแคงมีดทำมุม 45 องศา กับสายไฟลักษณะเดียวกับการเหลาดินสอ อย่ากดใบมีดลึกจนเกินไป เพราะใบมีอาจตัดถูกลวดทองแดงภายในขาด หรือ ชำรุดเสียหายได้
1.6 เลื่อย มีชื่อเรียกตามลักษณะการใช้งานและลักษณะรูปร่าง ในการช่างพื้นฐานจะกล่าวถึงเลื่อยที่ใช้กันทั่วๆ ไป ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นใบเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็กบาง มีฟันคล้ายกับสิ่วเล็กๆ เรียงกันตลอดความยาว และส่วนที่เป็นด้ามมือทำจากไม้หรือพลาสติก เลื่อยที่นิยมใช้กันแพร่หลาย มีดังนี้
1.6.1 เลื่อยลันดา แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) เลื่อยลันดาชนิดตัด ใช้ตัดขวางเสี้ยนไม้ ปลายของฟันจะแหลม เวลาตัดต้องทแยงใบเลื่อยทำมุมกับชิ้นงานประมาณ 15 – 30 องศา
2) เลื่อยลันดาชนิดโกรก ใช้สำหรับเลื่อยหรือผ่าตามเสี้ยนไม้1.6.2 เลื่อยโครงเหล็กหรือเลื่อยคันศร เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก เช่น การตัดท่อนไม้ขนาดต่างๆ หรือใช้ตัดต้นไม้ เลื่อยโครงเหล็กตัวโครงเป็นเหล็กกลวงน้ำหนักเบา ใบเลื่อยถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อให้ใบเลื่อยสามารถตัดได้ทั้ง 2 ทาง

1.6.3 เลื่อยตัดเหล็ก โครงเลื่อยเหล็กมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ช่วงที่ใส่ใบเลื่อยจะมีระยะห่างเท่ากัน มีรูและสลักสำหรับยึดให้ใบเลื่อยตึงและปรับระยะได้ตามขนาดความยาวของใบเลื่อย
1.6.4 เลื่อยบังตอ เหมาะสำหรับงานตัดหัวไม้เพื่อทำเดือยต่อต่าง ๆ ด้านสันของใบเลื่อยมีครอบเหล็กแข็ง กันใบเลื่อยบิดตัวขณะเลื่อย ทำให้ได้รอยตัดที่มีแนวเที่ยงตรง ใบเลื่อยยาว 8, 14
1.7 หัวแร้งบัดกรี หัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรี เพื่อเชื่อมหรือประสาน มีอยู่ 2 ชนิดคือ หัวแร้งชนิดเผาด้วยถ่าน และหัวแร้งไฟฟ้า หัวแร้งไฟฟ้าเหมาะที่จะใช้กับงานเดินสายไฟและงานซ่อม งานประสานเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มากนัก
1.8 เครื่องมือวัดไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ ใช้วัดได้หลายอย่าง คือโวลต์ แอมแปร์และโอห์ม
1.9 ตะไบ เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ปรับผิวชิ้นงานให้เรียบหรือตกแต่งชิ้นงานให้มี ขนาดตามต้องการ ตะไบทำจากเหล็กผสมคาร์บอน ส่วนตะไบที่ต้องการความคงทนสูงทำด้วยเหล็กกล้า รูปร่างของตะไบนอกจากถูกกำหนดโดยลายตัดขวาง ความถี่ และความลึกของร่องตัด ยังมีผลต่อขนาดของฟันอีกด้วย คือ ตะไบหยาบจะมีฟันลึกและห่างใช้สำหรับงานปาด ส่วนตะไบละเอียดจะมีฟันตัดตื้นและถี่ เหมาะสำหรับงานตกแต่งขั้นสุดท้าย ตะไบมีหลายแบบ ดังนี้ ตะไบแบน ตะไบท้องปลิง ตะไบสามเหลี่ยม ตะไปกลม ส่วนตะไบที่ใช้ในงานไม้ เรียกว่า บุ้ง
1.10 ประแจ เป็นเครื่องมือในการขันหัวสกรูหรือนอต ประแจมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้ เช่น
1) ประแจปากตาย ใช้ขัน คลาย ในที่โล่งๆ กว้างๆ และข้อจำกัด จะจับน็อตลื่นได้ง่าย ซึ๋งประแจแหวน โอกาสลื่นได้น้อยกว่า เริ่มจากเบอร์ที่ 6 – 32
2) ประแจคอม้า ใช้ในงานขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ไม่เหมาะสำหรับใช้ขันน็อต เพราะจะทำให้หัวน็อตเสียหาย
3) ประแจแหวน ใช้ขัน หรือคลายเข้าในที่เป็นซอกหรือหลุม แต่ลึกไม่มาก เริ่มจากเบอร์ที่ 6 – 32
4) ประแจบล็อก ใช้แทนขัน หรือคลาย หรือจับน็อต
5) ประแจเลื่อน ใช้ขันเกลียว น๊อต หรือ ยึด อุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับล็อกอุปกรณ์เช่น น๊อต
1.11 ตลับเมตร ใช้สำหรับวัดระยะมีลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยมขนาดพอจับมือ ตัวตลับทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ส่วนแถบวักทำด้วยเหล็กบางเคลือบสี ปลายแถบวัดจะมีขอเกี่ยวเล็กๆ ติดอยู่
1.12 ฉาก เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรงหรือตั้งได้ฉากของงาน รวมทั้งวัดมุมต่างๆ ฉากมี 2 ชนิด คือ
1) ฉากตาย ยึดติดกันตายตัวใช้วัดมุม 90 องศา และ 45 องศา
2) ฉากเป็น ใช้วัดมุมต่างๆ สามารถถอดแยกออกจากกันได้

Exercise Files
การงานอาชีพ ม.1 งานช่าง (ต่อ) 1.pdf
Size: 1.14 MB
รายการบทเรียน
หน่วยที่5 การเลือกใช้อุปกรณ์งานช่าง
- ความสำคัญ ประโยชน์ ชนิด การเลือกใช้ วิธีการใช้และการเก็บรักษา -ให้นักเรียนรู้จักการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ -ให้นักเรียนใช้อุปกรณ์มีความปลอดภัยในการใช้งาน
0/5
หน่วยที่6การประดิษฐ์วัสดุธรรมชาติ
งานประดิษฐ์เป็นกิจกรรมที่ ถ่ายทอดความรู้ ความคิด และ ประสบการณ์ สร้างสรรค์ออกมาในรูปของผลงานที่สามารถนําไปใช้ ประโยชน์เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ซึ่งมีทั้งประเภทงานประดิษฐ์ทั่วไป และงานประดิษฐ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทยในการสร้างสรรค์งานใหญ่มีความ สวยงามประณีต สิ่งสําคัญที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องมือและ อุปกรณ์
0/3
หน่วยที่7 งานอาชีพ
การเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองนั้น ควรใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพมาช่วยในการพิจารณา เมื่อได้เลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองแล้วต้องเตรียมความพร้อมด้านต่างๆเพื่อเข้าสู่งานอาชีพ และประกอบอาชีพอย่างมีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในอาชีพที่เลือกทำ
0/5
0% Complete