เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยที่ 5 หนึ่งในประชาคม
 ความหมายของคำบุพบท  ชนิดและหน้าที่ของคำบุพบท  วิเคราะห์ประโยคจากคำบุพบท  จำแนกชนิดของคำบุพบท  อ่านและสังเกตคำในประโยคขีดเส้นใต้คำบุพบท
0/5
สัปดาห์ที่ 1คำบุพบท
คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
0/2
สัปดาห์ที่ 2 คำสันธาน
คำสันธาน หมายถึง คำที่ใช้เชื่อมคำหรือข้อความให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ประโยคจะมีความกระชับ และสละสลวยขึ้น เช่นคำว่า และ แล้ว จึง แต่ หรือ เพราะ เหตุเพราะ เป็นต้น
0/4
สัปดาห์ที่ 3 เรื่องคำอุทาน
คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ สงสัย สงสาร เจ็บปวด โกรธ เป็นต้น คำอุทานมักจะอยู่หน้าประโยคและมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับหลังคำอุทานนั้นเสมอ
0/3
สัปดาห์ที่ 4 จดหมายส่วนตัว
การเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนจดหมาย ข่าว ประกาศและแจ้งความ การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ช่วย ทำให้ระยะทางไกลเป็นใกล้ เพราะไม่ว่าบุคคลหรือหน่วยงานจะห่างไกลกันแค่ไหนก็สามารถใช้จดหมายส่งข่าว คราวและแจ้งความประสงค์ได้ตามความต้องการ การส่งสารหรือ ข้อความในจดหมายต้องเขียนให้แจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย องค์ประกอบและรูปแบบของจดหมาย ผู้เขียนคงเคยเขียนจดหมายหรืออ่านจดหมายมาบ้างแล้ว คงจะสังเกตเห็นว่าจดหมาย นั้นไม่ว่าประเภทใด จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ๑. ที่อยู่ของผู้เขียน เริ่มกึ่งกลางหน้าระหว่างเส้นคั่นหน้ากับริมของขอบกระดาษ ๒. วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย ให้เยื้องมาทางซ้ายของตำแหน่งที่เขียนที่อยู่เล็กน้อย ๓. คำขึ้นต้น ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๑ นิ้ว ๔. เนื้อหา ขึ้นอยู่กับย่อหน้าตามปกติ อาจจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๒ นิ้ว ๕. คำลงท้ายอยู่แนวเดียวกับที่อยู่ของผู้เขียน ๖. ชื่อผู้เขียน อยู่ใต้คำลงท้าย ล้ำเข้าไปเล็กน้อย
0/3
สัปดาห์ที่ 5 การสื่อสาร
การเขียนเพื่อสื่อสาร จะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ส่งสารหรือผู้เขียน ซึ่งจะต้องมีความสามารถในหลายๆ ด้าน ทั้งในกระบวนการคิดและในกระบวนการเขียน เช่น ความสามารถในด้านการใช้ภาษา และความสามารถในการใช้เหตุผล และยังต้องมีความรู้ในเรื่องของรูปแบบของการเขียนต่างๆ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเขียนประวัติย่อในการสมัครงาน การเขียนจดหมายกิจธุระ การเขียนโครงงาน การเขียนรายงานวิชาการ การเขียนรายงานการประชุม ตลอดจนการกรอกแบบรายการต่างๆ
0/3
สัปดาห์ที่ 6 คำราชาศัพท์และระดับของภาษา
ถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป ซึ่งเราควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของบุคคล
0/3
สัปดาห์ที่ 7 คำราชาศัพท์หมวดต่างๆ
คำเฉพาะสำหรับพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.
0/4
สัปดาห์ที่ 12
การตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล เป็นวิธีการตั้งประเด็นเพื่อทราบรายละเอียดของเรื่องต่าง ๆ การพูดหรือเขียนสิ่งที่ต้องการรู้จากการอ่าน การฟัง การดู ควรตั้งคำถามที่ชัดเจน ตรงประเด็น เหมาะสม มีเหตุมีผล ทำให้เกิดเจตคติที่ดี สามารถวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ทำให้ได้ความรู้หรือข้อคิดที่เป็นประโยชน์
0/3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
นิทานพื้นบ้าน คือ เรื่องที่เล่าสืบทอดต่อ ๆ กันมา แสดงถึงภูมิปัญญาทางภาษาและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประจำถิ่น ทำให้เข้าใจความคิด พฤติกรรมและวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้น ได้เรียนรู้เรื่องสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงามของบรรพบุรุษ เพื่อจะได้สืบสานด้วยความภาคภูมิใจ
0/1
ภาษาไทย ท16101 ป.6 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

เทศนาโวหาร โวหารทีผู้เขียนมุ่งสังสอนคุณธรรม หรือจรรโลงใจ ปลุกใจ จูงใจ ให้ผู้อ่าน คล้อยตาม

สาธกโวหาร คือ โวหารทีมุ่งให้ความชัดเจน โดย การยกตัวอย่างเพืออธิบาย หรือ สนับสนุน ความคิดเห็นให้หนักแน่น น่าเชือถือ

อุปมาโวหาร คือ โวหารเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่าง สิงที คล้ายคลึงกัน มาเปรียบเทียบ เพือให้เกิดความชัดเจน ด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ความรู้สึก มากยิงขึน อุปมาโวหารมักจะปรากฏพร้อมกับ พรรณนาโวหารเสมอ