การเขียนเรียงความ เป็นการเขียนบรรยายถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้เขียนสู่ผู้อ่าน ทำให้อานได้รับความรู้ คามเพลิดเพลินและความคิดใหม่ ๆ จากการอ่าน
หลักการเขียนเรียงความ
1) ตั้งจุดประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเขียนเรื่องนั้นไปในแนวใด ให้ใครอ่านเพื่อจะได้เลือกใช้ถ้อยคำและ
เนื้อเรื่องให้เหมาะแก่ผู้อ่าน
2) วางโครงเรื่องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ เพื่อกำหนดขอบเขตการดำเนินเรื่อง จัดลำดับ
ความคิด และจัดหาข้อมูลอย่างมีระบบโดยใช้แผนภาพ ความคิด
3) เขียนโครงเรื่องตามลำดับให้สัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ
4) เขียนเปิดเรื่องหรือคำนำให้น่าติดตาม แล้วจึงเข้าสู่เนื้อเรื่องที่ได้ทั้งสาระความรู้ ความคิด และ
ความรู้สึกที่ถ่ายทอดอย่างชัดเจนและสร้างสรรค์
5) สรุปประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด ฝากข้อคิด ข้อเสนอแนะให้ประทับใจหรือนำไปคิดต่อ
องค์ประกอบของการเขียนเรียงความ
- คำนำ เป็นข้อความนำเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านความสนใจในเรื่องนั้น อาจขึ้นด้วยบทกลอน ภาษิต คำคม ปริศนาคำทาย หรือเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ
- เนื้อเรื่อง เป็นข้อความแสดงสาระสำคัญของเนื้อเรื่องให้สอดคล้องกับชื่อเรื่อง การเขียนเนื้อเรื่องอาจมีหลายย่อหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินเรื่อง
- สรุป เป็นข้อความสุดท้ายของเนื้อเรื่องเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความคิดเห็น ความต้องการของผู้เขียน ตลอดจนข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ ในบทสรุปนี้อาจจบด้วยบทกลอน สุภาษิต คำคมที่น่าประทับใจ
การปรับปรุงงานเขียน
การปรับปรุงงานเขียนจะนำเรียงความที่เขียนเสร็จแล้วมาอ่านเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมหรือแก้ไขเนื้อหา การใช้ภาษา การเขียนสะกดคำ เพื่อให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น