STEM ว21205 ม.1 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

ว21206 วิชา STEM                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2                                           เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต

สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์

และคณิตศาสตร์ ที่อาศัยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้โครงงานเป็นฐาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ และทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ตลอดจนเห็นความสำคัญและเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพในอนาคต อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาไม่ได้จำกัดว่าต้องใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น ๆ ได้ด้วย

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเน้นการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาตร์ และการออกแบบเชิงวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบในการค้นคว้าหาความรู้ การแก้ปัญหา หรือสร้างเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ทั้งนี้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมมีขั้นตอนการทำงานที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการค้นหาคำตอบของสิ่งที่สงสัย หรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในขณะที่กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเน้นการประยุกต์องค์ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรม

เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการคิด และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดจิตวิทยาศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนสะเต็ม

ผลการเรียนรู้

  1. ระบุปัญหาที่พบจากการรวบรวมข้อมูล โดยใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ และกำหนดขอบเขตของ

ปัญหาได้

  1. รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา วิเคราะห์และเลือกข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อใช้แก้ปัญหา

และประเมินความเป็นไปได้ของวิธีการแก้ปัญหาได้

  1. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยเชื่อมโยงความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ได้ และเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดได้ และอธิบายเเนวคิดที่ใช้ในการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาได้

  1. วางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนได้ ดำเนินการแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่าง

ถูกต้องปลอดภัย บันทึกขั้นตอนและผลการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบตามความเป็นจริงและสอดคล้องกับปัญหา

  1. ทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงการแก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการแก้ปัญหาหรือเพิ่ม

ประสิทธิภาพของผลผลิต

  1. นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาและผลการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยใช้ทักษะการสื่อสารอย่างมี

ประสิทธิภาพ และอธิบายประเด็นหรือปัญหาที่เกิดจากการแก้ปัญหาได้

รวม 6 ผลการเรียนรู้

What Will You Learn?

  • 1. ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • 2. ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวตามสภาพจริง
  • 3. ผู้เรียนเป็นผู้สรุป และสร้างความรู้ด้วยตนเอง

About the instructor

Course Curriculum

เรียนรู้สะเต็ม
สะเต็มเป็นการนำจุดเด่นของธรรมชาติตลอดจนวิธีการสอนของแต่ละสาขาวิชามาผสมผสานกัน อย่างลงตัวเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหาการค้นคว้าและการพัฒนา สิ่งต่าง ๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบันซึ่งอาศัยการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนหลายสาขา ร่วมมือกันเพราะในการทางานจริงหรือในชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ความรู้หลายด้านใน การทำงานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ

  • เรียนรู้สะเต็ม (สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 1)
    07:16
  • แบบทดสอบ

ลมเอ๋ย มาจากไหน
อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศในบริเวณที่ร้อน จะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิตํ่ากว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง และแตกต่างกันของความกดอากาศ อากาศบริเวณที่มีความกดอากาศสูง จะเคลื่อนที่เข้ามายังบริเวณที่มีความกดอากาศตํ่า มวลอากาศที่ เคลื่อนที่เราเรียกว่า ลม (Wind)

  • ลมเอ๋ย มาจากไหน (สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 2)
    04:29
  • แบบทดสอบ

การวิเคราะห์สถานการณ์

  • การวิเคราะห์สถานการณ์

รูปทรงเรขาคณิต

  • รูปทรงเรขาคณิต

การออกแบบเครื่องบอกทิศทางลม

การทดสอบ ปรับปรุง และนำเสนอ

  • การทดสอบ ปรับปรุง และนำเสนอ

การถ่ายโอนความร้อน

  • การถ่ายโอนความร้อน

ตัวอย่างการถ่ายโอนความร้อน

  • การนำความร้อน
  • การพาความร้อน
  • การแผ่รังสีความร้อน

สิ่งแวดล้อมรอบตัว

  • สิ่งแวดล้อมรอบตัว (ทรัพยากรป่าไม้)
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัว (ทรัพยากรดิน)
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัว (ทรัพยากรน้ำ)

ปรากฏการณ์แก๊สเรือนกระจก

  • ปรากฏการณ์เรือนกระจก

สาเหตุการเกิดปรากฏการณ์แก๊สเรือนกระจก

  • สาเหตุการเกิดปรากฏการณ์แก๊สเรือนกระจก

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?