เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
ศึกษาเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ แรง แรงดันในของเหลว แรงพยุง แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง แรงในธรรมชาติ การเคลื่อนที่ ระยะทางและ การกระจัด อัตราเร็ว ความเร็ว
0/12
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 งานและพลังงาน
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน และพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
0/5
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว22103 ม.2 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

แรงดันในของเหลว

          แรงดันที่กระทำบนพื้นที่  1  หน่วยในแนวตั้งฉากเรียกว่า ความดัน (pressure) มีหน่วยเป็น นิวตันต่อตารางเมตร หรือพาสคัล (Pa) ความดันที่เกิดจากของเหลวเรียกว่า ความดันของของเหลว และความดันที่เกิดจากแก๊สเรียกว่า ความดันแก๊ส ส่วนความดันที่กล่าวถึงทั่วไปเรียกว่า ความดันอากาศ ซึ่งเป็นความดันของอากาศที่อยู่รอบตัวเรา ค่าของความดันสามารถหาได้จากสมการ

          เมื่อวัตถุอยู่ในของเหลวจะเกิดแรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุในทุกทิศทาง โดยแรงที่ของเหลวกระทำในแนวตั้งฉากกับผิวของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ เรียกว่า ความดันของของเหลว (fluid pressure; P)

          ความดันของของเหลวเป็นแรงที่เกิดจากน้ำหนักของของเหลวที่กระทำกับพื้นผิวของวัตถุในระดับความลึก (h) จากผิวของของเหลวจึงกล่าวได้ว่าความดันของของเหลวแปลผันตรงกับความลึก (h) และความหนาแน่นของของเหลว  ซึ่งหาได้จากสมการ

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลวมี 2 ปัจจัยดังนี้
1. ความหนาแน่นของของเหลว ของเหลวต่างชนิดกันที่ระดับความลึกเดียวกันจะมีความดันต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของของเหลว ซึ่งของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีความดันมากกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า
2. ความลึกของของเหลว ของเหลวที่ระดับความลึกเดียวกันจะมีความดันเท่ากัน ส่วนที่ระดับความลึกต่างกันของเหลวจะมีความดันต่างกัน ซึ่งที่ระดับความลึกมากของเหลวจะมีความดันมาก

ที่ระดับความลึกเดียวกัน น้ำจะมีความดันเท่ากัน
ที่ระดับความลึกต่างกัน น้ำที่มีระดับความลึกมากกว่าจะมีความดันมากกว่า

แรงดันอากาศ

แรงดันอากาศ เป็นแรงของอากาศที่กดทับมาบริเวณที่ต้องการวัดแรงดันอากาศ หรือแรงของอากาศที่กดลงมาบริเวณวัตถุ โดยแรงดันอากาศจะกระทำในทุกทิศทาง ในชีวิตประจำวันเราสามารถพบเห็นเหตุการณ์ที่เป็นผลมาจากแรงดันอากาศได้หลายเหตุการณ์ เช่น การใช้หลอดดูดน้ำจากแก้วน้ำ น้ำในแก้วน้ำจะถูกแรงกดอากาศลดลงจนทำให้น้ำในแก้วเคลื่อนที่ไปตามหลอดแล้วเข้าไปสู่ปากเราได้ การเจาะกระป๋องนมจะเป็นการเจาะกระป๋องนม 2 รูในตำแหน่งตรงข้ามกัน เพื่อให้อากาศดันนมที่อยู่ในกระป๋องให้ไหลออกมาได้ แรงดันใต้ปีกเครื่องบินและแรงดันบนปีกเครื่องบินที่แตกต่างกันทำให้เครื่องบินลอยเหนือพื้นดินได้

ทนงทวย คงควรทอง on Twitter: "ปัจจุบัน AIRBUS A340-500 อยู่ในสภาพที่พร้อมบินแค่ 9 ลำเท่านั้น หนึ่งในนั้นเป็นของกองทัพอากาศไทยทะเบียน HS-TYV ซึ่งเป็น A345 เพียงลำเดียวในฝูง 602 โดยรับเครื่องต่อมาจากการบินไทยที่เดิมเป็นเป็นตัวทะเบียน HS-TLC #สาระการบิน ...