เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
ศึกษาเกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ แรง แรงดันในของเหลว แรงพยุง แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง แรงในธรรมชาติ การเคลื่อนที่ ระยะทางและ การกระจัด อัตราเร็ว ความเร็ว
0/12
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 งานและพลังงาน
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน และพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
0/5
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว22103 ม.2 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

แรงพยุง

แรงพยุงหรือแรงลอยตัว (buoyant force;) คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุในทิศทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลกเมื่อวัตถุนั้นอยู่ในของเหลว ขนาดของแรงพยุงขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของของเหลว และปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมลงในของเหลว เช่น ลูกบอลลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้เนื่องจากมีแรงพยุงของน้ำช่วยพยุงลูกบอลไว้ แรงพยุงส่งผลให้วัตถุมีลักษณะการจมและการลอยที่แตกต่างกัน

นภา] เรือลอยน้ำได้อย่างไร

ทำไมกระทงถึงลอยน้ำได้ ? | Science and Technology Knowledge Centre : STKC

5 ข้อดีของการว่ายน้ำที่คุณต้องรู้.!! - phuketswimacademy.com

แรงพยุงส่งผลให้วัตถุมีลักษณะการลอยและการโจมที่แตกต่างกัน

          เมื่อวัตถุอยู่นิ่งในของเหลวแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุจะมีค่าเท่ากับศูนย์ ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กล่าวคือ แรงลัพธ์ของของเหลวที่กระทำกับวัตถุส่วนที่จมจะอยู่ในของเหลวจะมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุที่จม ดังนั้น ค่าที่อ่านได้ของน้ำหนักวัตถุที่ช่างด้วยเครื่องชั่งสปริงในของเหลวจะน้อยกว่าค่าที่อ่านได้เมื่อชั่งในอากาศ เนื่องจากในของเหลวจะเกิดแรงพยุงกระทำกับวัตถุส่วนที่จมนั่นเอง

         อาร์คิมีดิส (archimedes) นักปราชญ์ชาวกรีก ทำการศึกษาเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุ พบว่า แรงพยุงมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของของเหลวและมีปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมอยู่ในของเหลว กล่าวคือ ขนาดของแรงพยุงจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกวัตถุแทนที่ ซึ่งสามารถคํานวณได้จากสมการ

          เหล็กจะมีความหนาแน่นที่มากกว่าน้ำจึงจมน้ำ แต่เมื่อนำเหล็กมาตีเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาทำให้เป็นรูปทรงปริมาตรจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จากหลักการนี้ทำให้เข้าใจถึงการสร้างเรือเหล็กซึ่งสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้