เนื้อหาของคอร์ส
พลังงานความร้อน
0/24
บรรยากาศ 1
บรรยากาศเป็นอากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวของสิ่งมีชีวิต และหุ้มห่อโลกของเรา สภาพของบรรยากาศรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับบรรยากาศของโลกล้วนส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทุกชนิดบนโลก อากาศเป็นส่วนผสมของแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และอื่น ๆ
0/16
วิทยศาสตร์ ม.1 ว21103 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

ลม คือ การเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรง ก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “อะนีมอมิเตอร์” (anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัด หรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบ และมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์

หน่วยมาตรฐานของความเร็วของลมคือเมตรต่อวินาที (m/s) ซึ่งเป็นหน่วย SI สำหรับความเร็วและหน่วยที่แนะนำโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแนะนำเมตรต่อวินาที (m/s) ในการรายงานสภาพอากาศบางครั้งใช้หน่วยกิโลเมตรต่อชั่วโมง (km/h) แต่ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์หน่วยยังมี Unit of wind speedในหน่วยอื่นๆ เช่นไมล์ต่อชั่วโมง (mph) นอต (knots) หรือฟุตต่อวินาที (ft/min) ซึ่งหน่วยเหล่านี้ยังคงถูกใช้ในการวัดในบางครั้ง ในอดีตความของเร็วลมได้รับการจำแนกโดยใช้มาตราส่วนโบฟอร์ตซึ่งขึ้นอยู่กับการสังเกตภาพของผลกระทบของลมที่กำหนดไว้โดยเฉพาะในทะเลหรือบนบก