เนื้อหาของคอร์ส
ทัศนศิลป์ ศ33102 ม.6 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

1> ศิลปินด้านสื่อผสมสมัยใหม่

สื่อผสมที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า mixed media นับเป็นศิลปกรรมแห่งศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสมจึงหมายถึง ผลงานทางทัสนศิลป์ที่มีการนำสื่อหรือศิลปะมากกว่าสองแขนงมาสร้างสรรค์เป็นงานในชิ้นเดียวกัน ในประเทศไทยศิลปินหลายคนได้เริ่มต้นสร้างผลงานทางทัศนศิลป์ในรูปแบบสื่อผสมมานานแล้ว โดยคิดค้นสื่อและผสมเทคนิคต่างๆเข้าด้วยกัน จะเป็นการสร้างงานจิตรกรรมสีน้ำมันผสมกับวัสดุสามมิติ ความนิยมในการนำวัสดุมาสร้างงานศิลปะแพร่หลายมากขึ้น การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ และให้คำจำกัดความไว้ว่า”ประเภทสื่อผสม คือ ผลงานซึ่งต้องใช้สื่อตั้งแต่สองประเภทขึ้นไปผสมกัน” ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ผลงานทางทัศนศิลป์ประเภทสื่อผสมการพัฒนาต่อเนื่อง นำวัสดุต่างๆมาประกอบสร้างเป็นผลงาน ทั้งวัสดุจากธรรมชาติหรือผลผลิตจากวงการอุตสาหกรรมมาสร้างสรรค์ผลงานของตนอย่างอิสระและพัฒนาไปสู่รูปแบบทางศิลปะประเภทจัดวาง รวมถึงพัฒนาให้มีทั้งภาพ เสียง กลิ่น และยกตัวอย่างผลงานของศิลปิน

  1. ทวน ธีระพิจิตร : ศิลปินภาพพิมพ์แบบ 2 มิติ ที่หันมาสนใจการสร้างสรรค์ผลงานด้วยวัสดุธรรมชาติ
  2. วิโชค มุกดามณี : ศิลปินผู้นำคุณลักษณะที่โดดเด่นของวัสดุ การใช้วัสดุที่ผลิตเพื่อการอุตสาหกรรมมาสร้างผลงานที่มีรูปทรงและลวดลายแบบใหม่
  3. มณเฑียร บุญมา : ศิลปินผู้มีบทบาทในการสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่และบุกเบิกการสร้างงานสื่อผสมและศิลปะจัดวาง
  4. ถาวร โกอุดมวิทย์ : ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์หลายรูปแบบมีการเลือกใช้วัสดุหลายประะเภท เช่น กิ่งไม้ กระดาษสา เชือก แผ่นทองคำเปลว
  5. กมล เผ่าสวัสดิ์ : ผู้บุกเบิกงานศิลปะเชิงแนวคิดและงานศิลปะจัดวางในประเทศไทยและเป็นสิลปินสื่อวิดีทัศน์ที่มีผลงานจัดแสดงมากมาย
  6. กมล ทัศนาญชลี : ผู้บุกเบิกการแสดงออกทางทัศนศิลป์รูปแบบใหม่ๆด้วยการนำประสบการณ์ การพิมพ์ภาพแม่พิมพ์โลหะลงบนกระดาษทำเอง แล้วผสมด้วยการนำภาพหรือวัสดุต่างๆมาติดสร้างเป็นรูปทางต่าง

2> ศิลปินด้านภาพพิมพ์สมัยใหม่

ภาพพิมพ์หรือศิลปะภาพพิมพ์ได้รับการพัฒนาขึ้นในประเทศไทย โดยมีชลูด นิ่มเสมอ เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์

  1. พิษณุ ศุภนิมิตร
  2. สุรสีห์ กุศลวงศ์
  3. ญาณวิทย์ กุญแจทอง 
  4. ไทยวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์
  5. ทินกร กาษรสุวรรณ
  6. พงษ์สักดิ์ พุทธเจริญ
  7. ชัยวุฒิ ร่วมฤดีกูล

ศึกษาเพิ่มเติมในหนังสือเรียนหน่วยที่ 3 / website