ผลงานทัศนศิลป์นอกจากจะนำไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประกอบอาชีพได้ในรูปแบบต่างๆ ล้วนมีการนำความรู้ทางศิลปะมาประยุกต์ใช้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบและสีสันของรถยนต์ รูปร่างของโทรศัพท์มือถือ และบรรจุภัณฑ์ ศิลปะจึงมีบทบาทกับชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ในอดีตสังคมไทยเป็นสังคมเกษตกรรมที่มีการผลิตและบริโภค โดยความงามทางศิลปะถูกนำเข้าไปผสมผสานกับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ตามความพึงพอใจหรือรสนิยมของคนในชุมชน โดยเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ภายในท้องถิ่น ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเครื่องมือที่ใช้ประกอบอาชีพ การส้รางอาคารบ้านเรือน เครื่องประดับตกแต่ง สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการพัฒนาไปสู่สังคมพาณิชยกรรมมและสังคมอุตสาหกรรมผลิตในจำนวนที่มากขึ้นเพื่อจำหน่าย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า จึงมีความจำเป็นที่ผู้ผลิตต้องพยายามสร้างความพึงพอใจให้กับผู้เบริโภคโดยรูปลักษณ์ของสินค้า บรรจุภัณฑ์ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้มาซื้อสินค้า ดังนั้นสินค้านอกจากจะตอบสนองด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ความสวยงามทางด้านรูปทรง สีสัน ก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆด้วย สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจึงต้องมีการออกแบบสร้างสรรค์ให้มีความงดงามในด้านต่างๆด้วยความคิดและจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งผู้ที่สามารถจะสร้างสรรค์ได้ดีและมีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์ หรือมีความรู้ทางด้านศิลปะโดยตรง ดังนั้น การศึกษาเรียนรู้ในสาขาวิชาเกี่ยวกับศิลปะหรือทัศนศิลป์ นอกจากจะไดด้รับความรู้คความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ความงาม เห็นคุณค่าแห่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประกอบอาชีพได้อีกด้วย
- มีความรู้ทางด้านศิลปะ
- มีความคิดสร้างสรรค์
- มีความอดทนมานะพยายาม
-นักออกแบบผลิตภัณฑ์
-ครูสอนศิลปะ
-ศิลปะอิสระ
-ช่างศิลป์
-ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทำด้วยมือ