เกี่ยวกับบทเรียน
กระบวนการทางสถิติ 4 ขั้นตอนชั่วโมงที่2คำสำคัญในสถิติศาสตร์
- สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) หมายถึงสถิติที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมการนำเสนอ การวิเคราะห์ และการตีความหมายของข้อมูล ซึ่งสถิติที่จะได้จะแสดงลักษณะของข้อมูลนั้น ไม่ได้ใช้การทำนายหรือคาดคะเนลักษณะประชากร
ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ฐานนิยม มัธยฐาน) และการวัดการกระจาย (พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฯลฯ) - สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) หมายถึง สถิติที่ว่าด้วยกระบวนการทั้ง 4 อย่างดังกล่าว แต่มีการนำค่าสถิติที่ได้ไปดำเนินการตามวิธีการทบสถิติ เพื่อทำนายหรือคาดคะเนเกี่ยวกับประชากรต่อไป
– คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน 5 จำนวน 4 ห้อง นำคะแนนมาหาคะแนนเฉลี่ย ครูไม่ได้นำมาดำเนินการต่อไป เรียกกระบวนการที่ครูวิเคราะห์ว่า สถิติเชิงพรรณนา
– แต่ถ้าครูนำคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม. 5/4 ไปดำเนินการทางสถิติบางอย่างแล้วนำผลที่ได้มาทำนายคะแนนของนักเรียนชั้น ม.5 จำนวน 4 ห้อง เรียกกระบวนการวิเคราะห์ของครูว่า สถิติเชิงอนุมานฃ
- ประชากร (Population)
ประชากร หมายถึง จำนวนทั้งหมดของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เราหาข้อมูล
- ตัวอย่าง (Sample)
ตัวอย่าง คือ ประชากรส่วนหนึ่งที่เราเลือกเก็บข้อมูลมาศึกษาจากประชากรทั้งหมด ตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากร - ค่าสถิติ (Statistics)
ค่าสถิติ หมายถึง ตัวเลขที่อธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคำนวณหรือวิเคราะห์มาจากกลุ่มตัวอย่าง - พารามิเตอร์ (Parameter)
พารามิเตอร์ หมายถึง ตัวเลขที่อธิบายลักษณะของประชากร ซึ่งคำนวณหรือวิเคราะห์ประชากร
ในทางปฏิบัติการคำนวณหาพารามิเตอร์โดยตรงจะกระทำได้ยาก เพราะประชากรมีจำนวนมากจนยากแก่การวิเคราะห์ จึงต้องมีการคัดเลือกตัวอย่างจากประชากร อย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่แท้จริงของประชากร
- ทฤษฎีตัวอย่าง (Sampling Thery)
ทฤษฎีตัวอย่าง คือ ทฤษฎีคัดเลือกตัวอย่าง ซึ่งค่าสถิติที่ได้มาสามารถใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ได้