สุขศึกษา พ22102 ม.2 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

 

คำอธิบายรายวิชา
พ22102 รายวิชาสุขศึกษา          กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2         ภาคเรียนที่ 2          เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต

        ศึกษาวิเคราะห์การเลือกใช้บริการทางสุขภาพ ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีผลต่อสุขภาพ ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต ลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต วิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์และความเครียด การพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ปัจจัยและแหล่งที่ช่วยเหลือฟื้นฟูสารเสพติด การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและสถานการณ์เสี่ยง ทักษะชีวิตในการป้องกันตนเอง และหลีกเลี่ยงสถานการณ์คับขันที่อาจนำไปสู่อันตราย
เพื่อให้เห็นคุณค่า และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพในการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐานตัวชี้วัด
พ 4.1 ม.2/1,ม.2/2,ม.2/3,ม.2/4,ม.2/5,ม.2/6,ม.2/7
พ 5.1 ม.2/1,ม.2/2,ม2/3
รวม 10 ตัวชี้วัด

 

What Will You Learn?

  • นักเรียนได้สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้
  • นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้
  • นักเรียนสามารถเสนอแนะวิธีปฏิบัติตนเพื่อจัดการกับอารมณ์กับความเครียดได้

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สุขภาพกายและสุขภาพจิต (สัปดาห์ที่ 1) 1 – 5 พ.ย.64
การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ทุกคนต้องประสบทั้งภาวะของความสุขและความทุกข์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านอารมณ์ได้ อีกทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน โดยผู้ที่มีสุขภาพกายบกพร่องจะทำให้สุขภาพจิตผิดปกติ ในทำนองเดียวกันถ้าสุขภาพจิตบกพร่อง ก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพกายเช่นกัน ดังนั้น การที่ร่างกายจะมีความสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องรักษาภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้มีความสมดุล รวมทั้งรู้จักปฏิบัติตนที่ดีและเลือกวิธีจัดการอารมณ์และความเครียดอย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

  • สุขภาพกายและสุขภาพจิต (สัปดาห์ที่ 1) 1 – 5 พ.ย.64
    00:00
  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 5
  • สุขบัญญัติแห่งชาติในการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต (สัปดาห์ที่ 2) 8 – 12 พ.ย.64

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 อารมณ์และความเครียด (สัปดาห์ที่ 3) 15 – 19 พ.ย.64
ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย เนื่องจากกายและจิตมีความสัมพันธ์กัน การพยายามปรับตัวให้เกิดความสมดุลของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ โดยการใช้เทคนิคการจัดการอารมณ์กับความเครียด จะช่วยให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม และเกิดผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคลต่อไป

  • อารมณ์และความเครียด (สัปดาห์ที่ 3) 15 – 19 พ.ย.64

หน่วยที่ 7 การเลือกใช้บริการทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน (สัปดาห์ที่ 4) 22 – 26 พ.ย. 64
การเลือกใช้บริการทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน          การบริการสุขภาพ คือ การจัดบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาความต้อง การของประชาชนในเรื่องสุขภาพ และเป็นการยกระดับสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นการมีสุขภาพดีหมายถึงการมีสุขภาวะที่สมบูรณ์และมีความสมดุลทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และ สติปัญญา เมื่อประชาชนเกิดปัญหาสุขภาพ ย่อมต้องการได้รับบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่บางกรณีก็ไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากประชาชนบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสถานบริการสุขภาพที่ตนเองจะไปใช้บริการ จึงมุ่งไปใช้บริการแต่สถานบริการสุขภาพขนาด ใหญ่จนก่อให้เกิดความแออัดและอันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้บริการ ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับขีดความสามารถของสถานบริการสุขภาพใน แต่ละระดับ จะช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสุขภาพเป็นไปได้อย่างถูกต้อง

  • การเลือกใช้บริการทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน (สัปดาห์ที่ 4) 22 – 26 พ.ย. 64
  • โครงสร้างและบทบาทของสถานบริการทางสุขภาพ (สัปดาห์ที่ 6) 7 – 9 ธ.ค. 64
  • หลักประกันสุขภาพ (สัปดาห์ที่ 8) 20 – 24 ธ.ค. 64
  • แนวทางเลือกใช้บริการทางสุขภาพ (สัปดาห์ที่ 9) 27 – 29 ธ.ค.64

หน่วยที่ 8 เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ (สัปดาห์ที่ 11) 10 – 14 ม.ค.65
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์จึงมีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตมากขึ้น การพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเลือกใช้เทคโนโลยีแต่ละประเภท จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ส่วนความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีความหลากหลายของรูปแบบการให้บริการมากขึ้น ประชาชนจึงต้องเลือกใช้รูปแบบของบริการทางการแพทย์ให้เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพที่ตนเองเป็นอยู่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • เทคโนโลยีทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน (สัปดาห์ที่ 11) 10 – 14 ม.ค.65
  • ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นประเด็นทางสุขภาพ (สัปดาห์ที่ 12) 17 – 21 ม.ค.65
  • ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีผลต่อสุขภาพ (สัปดาห์ที่ 13) 24 – 28 ม.ค.65

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?