สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส22103 ม.2 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                                 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

รหัสวิชา ส 22103   รายวิชาสังคมศึกษา                                                          ภาคเรียนที่  2  เวลา  60   ชั่วโมง

สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน  : ปลายภาค = 70 : 30                                       จำนวนหน่วยกิต    1.5  หน่วยกิต

รายวิชาหน้าที่พลเมือง

ศึกษาวิเคราะห์บทบาท ความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน กระบวนการในการตรากฎหมาย การปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาม สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี

โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม

เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข มีคุณธรรมจริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านการรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย

รายวิชาเศรษฐศาสตร์

ศึกษา วิเคราะห์ ระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย การกระจายของทรัพยากรในโลกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การแข่งขันทางการค้าในประเทศและต่างประเทศที่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า ปริมาณการผลิตและราคาสินค้า ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและการออม ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค

โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า เข้าใจหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิต สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง

รายวิชาภูมิศาสตร์

ศึกษาการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สำรวจ สืบค้น มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์ ลักษณะทางกายภาพ ทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา สาเหตุการเกิดภัยพิบัติ ประเด็นปัญหาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ รวมถึงแนวทางการจัดการภัยพิบัติ การจัดการทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการสืบค้น วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ใช้ทักษะทางภูมิศาสตร์ด้านการสังเกต การแปลความข้อมูลทางภูมิศาสตร์ การคิดเชิงพื้นที่ การคิดแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยี การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ การคิดเชิงภูมิสัมพันธ์ การใช้สถิติพื้นฐาน รวมถึงทักษะด้านการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความสามารถในการคิดและแก้ปัญหา มีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีส่วนร่วมในการจัดการภัยพิบัติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา

ตัวชี้วัด

ส 2.1   ม.2/3  ม.2/4

ส 2.2   ม.2/2

ส 3.1   ม.2/1   ม.2/2   ม.2/3  ม.2/4

ส 3.2   ม.2/1   ม.2/2   ม.2/3  ม.2/4

ส 5.1   ม.2/1   ม.2/2   ม.2/3

ส 5.2   ม.2/1   ม.2/2   ม.2/3  ม.2/4

 

รวม  18  ตัวชี้วัด

Show More

What Will You Learn?

  • วิเคราะห์บทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม
  • อธิบายความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมของประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
  • วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร ทางการเมือง การปกครอง ที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย สมัยปัจจุบัน
  • วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนและการออม
  • อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ
  • เสนอแนวทางการพัฒนา การผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • อภิปรายแนวทางการคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค
  • อภิปรายระบบเศรษฐกิจแบบต่าง ๆ
  • ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกัน และการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
  • วิเคราะห์การกระจายของทรัพยากรในโลกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  • วิเคราะห์การแข่งขันทางการค้า ในประเทศและต่างประเทศ ที่ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า ปริมาณการผลิตและราคาสินค้า
  • วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สืบค้นข้อมูล
  • อธิบายมาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์
  • วิเคราะห์สาเหตุการเกิดภัยพิบัติ และผลกระทบในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา
  • สำรวจและระบุทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา
  • วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อทำเลที่ตั้งของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจและสังคม ในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา
  • สืบค้น อภิปรายประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา
  • วิเคราะห์แนวทางการจัดการ ภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกาที่ยั่งยืน

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญของระบอบการปกครองไทย *สัปดาห์ที่ 1 (1 – 5 พ.ย. 64)
การใช้หลักการเลือกรับข้อมูล ข่าวสารอย่างถูกต้องนั้น ย่อมส่งผลดีต่อการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองการปกครองไทยได้ถูกต้อง

  • เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองของไทย *สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 1
  • เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองของไทย *สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 2
  • การเลือกรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของไทยในสังคมปัจจุบัน *สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 3
  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญของระบอบการปกครองไทย สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 1
  • แบบฝึกหัดตอบคำถามเรื่อง “เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงสำคัญของระบอบการเมืองการปกครองของไทย” สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 2
  • แบบฝึกหัดตอบคำถาม เรื่อง”การเลือกรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของไทยในสังคมปัจจุบัน” สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สถาบันทางสังคม * สัปดาห์ที่ 2 (8 – 12 พ.ย. 64)
สถาบันทางสังคมต่างก็มีบทบาทความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคมและมีความ สัมพันธ์กัน

  • ความหมายและความสำคัญของสถาบันทางสังคม *สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 1
  • บทบาทของสถาบันทางสังคม *สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 2
  • ความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม *สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 3
  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง “สถาบันทางสังคม” สัปดาห์ที่ 2ชั่วโมงที่ 1
  • แบบฝึกหัด เรื่อง “บทบาทของสถาบันทางสังคม” สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 2
  • แบบฝึกหัด เรื่อง “ความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม” สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 วัฒนธรรมของไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย *สัปดาห์ที่ 3 (15 – 19 พ.ย.64)-สัปดาห์ที่ 4 (22 – 26 พ.ย. 64)
วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมในประเทศภูมิภาคเอเชียมีทั้งความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

  • ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม และ ที่มาของวัฒนธรรม *สัปดาห์ที่ 3 ชั่วโมงที่ 1
  • ลักษณะของวัฒนธรรมไทย *สัปดาห์ที่ 3 ชั่วโมงที่ 2
  • ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย *สัปดาห์ที่ 3 ชั่วโมงที่ 3
  • ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย *สัปดาห์ที่ 4 ชั่วโมงที่ 1
  • ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย *สัปดาห์ที่ 4 ชั่วโมงที่ 2

หน่วยการเรียนรู่ที่ 6 การออมและการลงทุน *สัปดาห์ที่ 5 (29 พ.ย. – 3 ธ.ค. 64)
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนและการออมมีหลายประการ ซึ่งการลงทุนและการออมล้วนมีความสำคัญ ต่อระบบเศรษฐกิจ

  • การออม *สัปดาห์ที่ 5 ชั่วโมงที่ 1
  • การลงทุน *สัปดาห์ที่ 5 ชั่วโมงที่ 2
  • ความแตกต่างระหว่างการออมและการลงทุน *สัปดาห์ที่ 5 ชั่วโมงที่ 3
  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 “เรื่องการออมและการลงทุน”สัปดาห์ที่ 5 ชั่วโมงที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การผลิตสินค้าและบริการ*สัปดาห์ที่ 6 (7 – 9 ธ.ค. 64)
การผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ย่อมมีหลักการผลิตและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจัยการผลิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการมีหลายประการ

  • ความหมาย ความสำคัญ ของการผลิตสินค้าและบริการ และปัจจัยในการผลิต (สัปดาห์ที่ 6 ชั่วโมงที่ 1)
  • หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ (สัปดาห์ที่ 6 ชั่วโมงที่ 2)
  • การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการและลักษณะของการผลิตสินค้าและบริการของไทย (สัปดาห์ที่ 6 ชั่วโมงที่ 3)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการ *สัปดาห์ที่ 7 (13 – 17 ธ.ค. 64)
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักการและเป้าหมายสำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชุมชนและวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในชุมชน

  • หลักการของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิเคราะห์การผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น (สัปดาห์ที่ 7 ชั่วโมงที่ 1)
  • การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น (สัปดาห์ที่ 7 ชั่วโมงที่ 2)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การคุ้มครองผู้บริโภค *สัปดาห์ที่ 7 (13 – 17 ธ.ค. 64)- 8 (20 – 24 ธ.ค. 64)
การคุ้มครองสิทธิของตนเองในฐานะผู้บริโภค เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยดำเนินกิจกรรมพิทักษ์สิทธิและผลประโยชน์ตามกฎหมายในฐานะผู้บริโภค

  • การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค (สัปดาห์ที่ 7 ชั่วโมงที่ 3)
    00:00
  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สัปดาห์ที่ 8 ชั่วโมงที่ 1)
  • หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค และแนวทางการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค (สัปดาห์ที่ 8 ชั่วโมงที่ 2)
  • แบบฝึกหัดเรื่อง “หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค และแนวทางการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค” สัปดาห์ที่ 8 ชั่วโมงที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ระบบเศรษฐกิจ การพึ่งพา การแข่งขันทางเศรษฐกิจในทวีปเอเชีย *สัปดาห์ที่ 8 (20 – 24 ธ.ค. 64) – สัปดาห์ที่ 10 (3 – 7 ม.ค. 65)
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันไปตามระบบเศรษฐกิจ ประเทศในภูมิภาคเอเชียล้วนมีการพึ่งพาอาศัยกัน และแข่งขันกันทางเศรษฐกิจ มีการกระจายทรัพยากร ซึ่งส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คุณภาพสินค้า การผลิต และราคาสินค้า

  • ระบบเศรษฐกิจ (สัปดาห์ที่ 8 ชั่วโมงที่ 3)
  • การพึ่งพาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจในเอเชีย
  • ทรัพยากรกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  • การแข่งขันทางการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ผลของการแข่งขันทางการค้าในประเทศและต่างประเทศ
  • แบบฝึกหัดตอบคำถามเรื่อง “ระบบเศรษฐกิจ” สัปดาห์ที่ 8 ชั่วโมงที่ 3

* สัปดาห์ที่ 12 (17 – 21 ม.ค. 65)หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การอ่านและแปลความหมายแผนที่
มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์ เป็นองค์ประกอบของแผนที่ที่ทำให้เราทราบตำแหน่ง ระยะทาง แลtทิศทางของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏบนผิวโลก

  • องค์ประกอบของแผนที่ *สัปดาห์ที่ 12 ชั่วโมงที่ 1
    00:00
  • การอ่านและแปลความหมายแผนที่ *สัปดาห์ที่ 12 ชั่วโมงที่ 2
  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องการอ่านและแปลความหมายของแผนที่ (สัปดาห์ที่ 12 ชั่วโมงที่ 1)
  • แบบฝึกหัดตอบคำถามเรื่อง “มาตราส่วน ทิศ และสัญลักษณ์ในแผนที่” (สัปดาห์ที่ 12 ชั่วโมงที่ 2)
  • สัปดาห์ที่ 12 ชั่วโมงที่ 3แบบฝึกหัด ทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ทวีปยุโรป

*สัปดาห์ที่ 13 – สัปดาห์ที่ 15 หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 ทวีปยุโรป
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สามารถนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกาส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติและผลกระทบที่แตกต่างกัน ทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา มีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากร เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา สิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของมนุษย์ ขณะเดียวกันกิจกรรมของมนุษย์ก็ส่งผลต่อ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และก่อให้เกิดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา การจัดการภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา จะช่วยให้ มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

  • * สัปดาห์ที่ 13 ชั่วโมงที่ 1-3 เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป (ที่ตั้งและอาณาเขต และลักษณะทั่วไป)
  • *สัปดาห์ที่ 14 ชั่วโมงที่ 1 เรื่องลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป (ลักษณะภูมิประเทศ)
    00:00
  • *สัปดาห์ที่ 14 ชั่วโมงที่ 2 เรื่อง ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติทวีปยุโรป(ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติและลักษณะทรัพยากรธรรมชาติ)
  • *สัปดาห์ที่ 14 ชั่วโมงที่ 3 เรื่องลักษณะประชากรของทวีปยุโรป และ ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมของทวีปยุโรป และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
  • *สัปดาห์ที่ 15 ชั่วโมงที่ 1 ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปยุโรป
  • *สัปดาห์ที่ 15 ชั่วโมงที่ 2 เรื่องภัยพิบัติและแนวทางการจัดการของทวีปยุโรป
  • *สัปดาห์ที่ 15 ชั่วโมงที่ 3 เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแนวทางการจัดการของทวีปยุโรป
  • แบบฝึกหัดตอบคำถามเรื่อง “ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป” สัปดาห์ที่ 13ชั่วโมงที่ 1
  • แบบฝึกหัดตอบคำถามเรื่อง “ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป” สัปดาห์ที่ 13 ชั่วโมงที่ 3
  • สัปดาห์ที่ 14 ชั่วโมงที่ 1 แบบฝึกหัดตอบคำถามเรื่อง ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป (ลักษณะภูมิประเทศ)

*สัปดาห์ที่ 16 – สัปดาห์ที่ 17หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 ทวีปแอฟริกา
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สามารถนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกาส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติและผลกระทบที่แตกต่างกัน ทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา มีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากร เศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา สิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีอิทธิพลต่อกิจกรรมของมนุษย์ ขณะเดียวกันกิจกรรมของมนุษย์ก็ส่งผลต่อ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และก่อให้เกิดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา การจัดการภัยพิบัติและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา จะช่วยให้ มนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

  • สัปดาห์ที่ 16 ชั่วโมงที่ 1 เรื่องลักษณะทางกายภาพของทวีปแอฟริกา
  • สัปดาห์ที่ 16 ชั่วโมงที่ 2 เรื่อง ลักษณะประชากรของทวีปแอฟริกาและลักษณะสังคมและวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกา
  • สัปดาห์ที่ 16 ชั่วโมงที่ 3 เรื่อง ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกา
  • สัปดาห์ที่ 17 ชั่วโมงที่ 1 เรื่อง ภัยพิบัติและแนวทางการจัดการของทวีปแอฟริกา
  • สัปดาห์ที่ 17 ชั่วโมงที่ 2 เรื่อง ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและแนวทางการจัดการของทวีปแอฟริกา

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?