วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ว23201 ม.3 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คําอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รหัสวิชา  ว ๒๓๒๐๑ วิทยาศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาที่ ๓          ภาคเรียนที่ ๒          เวลา  ๖๐ ชั่วโมง                 จำนวน  ๑.๕ หน่วยกิต

ศึกษา วิเคราะห์ ปริมาณทางไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับความต่างศักย์ กฎของโอห์ม ความต้านทาน ตัวต้านทาน การต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและแบบขนาน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ตัวเก็บประจุ วงจรรวม การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า การคำนวณค่าไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย การเกิดคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประโยชน์และการป้องกันอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสะท้อนของแสงบนกระจกเงาราบ การสะท้อนของแสงบนกระจกเงาโค้ง การหักเหของแสงผ่านเลนส์ การทดลองการหักเหของแสง การเกิดภาพจากเลนส์บาง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่น รุ้ง มิราจ และการทำงานของทัศนอุปกรณ์ เช่น แว่นขยาย กระจกโค้งจราจร การมองเห็นวัตถุ ความสว่างของแสง การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ การเกิดฤดูกาล การเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง น้ำเป็น น้ำตาย เทคโนโลยีอวกาศ กล้องโทรทรรศน์ ดาวเทียมและยานอวกาศ นักบินอวกาศ โครงการสำรวจอวกาศ

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต
การวิเคราะห์ การทดลอง การอภิปราย การอธิบาย และการสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ
มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง มีจิตวิทยาศาสตร์
จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

ตัวชี้วัด

ว 2.3 ม.3/1   วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน และคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องโดยใช้สมการ V = IR จากหลักฐานเชิงประจักษ์

ว 2.3 ม.3/2   เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า และความต่างศักย์ไฟฟ้า

ว 2.3 ม.3/3   ใช้โวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้า

ว 2.3 ม.3/4   วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัว
แบบอนุกรมและแบบขนานจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ว 2.3 ม.3/5   เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนาน

ว 2.3 ม.3/6   บรรยายการทำงานของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายในวงจรจากข้อมูลที่รวบรวมได้

ว 2.3 ม.3/7   เขียนแผนภาพและต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายในวงจรไฟฟ้า

ว 2.3 ม.3/8   อธิบายและคำนวณพลังงานไฟฟ้าโดยใช้สมการ W = Pt รวมทั้งคำนวณค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน

ว 2.3 ม.3/9   ตระหนักในคุณค่าของการเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยนำเสนอวิธีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย

ว 2.3 ม.3/10  สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดคลื่นและบรรยายส่วนประกอบของคลื่น

ว 2.3 ม.3/11  อธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากข้อมูลที่รวบรวมได้

ว 2.3 ม.3/12  ตระหนักถึงประโยชน์และอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยนำเสนอการใช้ประโยชน์ในด้าน

ต่าง ๆ และอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

ว 2.3 ม.3/13  ออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายกฎการสะท้อนของ

แสง

ว 2.3 ม.3/14  เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดงการเกิดภาพจากกระจกเงา

ว 2.3 ม.3/15  อธิบายการหักเหของแสงเมื่อผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่างกัน และอธิบายการกระจายแสง

ของแสงขาวเมื่อผ่านปริซึมจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ว 2.3 ม.3/16  เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงแสดงการเกิดภาพจากเลนส์บาง

ว 2.3 ม.3/17  อธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง และการทำงานของทัศนอุปกรณ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้

ว 2.3 ม.3/18  เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง แสดงการเกิดภาพของทัศนอุปกรณ์และเลนส์ตา

ว 2.3 ม.3/19  อธิบายผลของความสว่างที่มีต่อดวงตาจากข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น

ว 2.3 ม.3/20  วัดความสว่างของแสงโดยใช้อุปกรณ์วัดความสว่างของแสง

ว 2.3 ม.3/21  ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่อง ความสว่างของแสงที่มีต่อดวงตา โดยวิเคราะห์สถานการณ์

ปัญหาและเสนอแนะการจัดความสว่างให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

ว 3.1 ม.3/1   อธิบายการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้มถ่วงจากสมการ F = (Gm1m2)/r2

ว 3.1 ม.3/2   สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดฤดู และการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์

ว 3.1 ม.3/3   สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม การเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตกของ

ดวงจันทร์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง

ว 3.1 ม.3/4   อธิบายการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ และยกตัวอย่างความก้าวหน้าของโครงการสำรวจอวกาศ จากข้อมูลที่รวบรวมได้

รวม 25 ตัวชี้วัด

 

Show More

What Will You Learn?

  • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน ได้วิเคราะห์ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าได้
  • เขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแสดงการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนานได้

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยที่ 1 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • สัปดาห์ที่ 1 วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
    00:00
  • แบบทดสอบ เรื่อง ความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และความต้านทานไฟฟ้า
  • สัปดาห์ที่ 2 กฎของโอห์ม
    00:00
  • คำนวนกฎของโอห์ม
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 3 วงจรไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า
    00:00
  • การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
    00:00
  • ตัวต้านทาน
    00:00
  • ตัวต้านทานค่าคงที่
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 4 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
    00:00
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 5 พลังงานไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า
    00:00
  • กำลังไฟฟ้า
    00:00
  • การคำนวณค่าไฟฟ้า
    00:00
  • การคำนวนค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย
    00:00

หน่วยที่ 2 คลื่น

  • สัปดาห์ที่ 6 คลื่นกล
    00:00
  • ส่วนประกอบของคลื่น/อัตราเร็วของคลื่น
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 7 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    00:00
  • สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 8 ประโยชน์ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ
    00:00
  • รังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้
    00:00
  • รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์
    00:00
  • รังสีแกมมา
    00:00

หน่วยที่ 3 แสงและการมองเห็น

  • สัปดาห์ที่ 10 การสะท้อนของแสง
    00:00
  • กฎการสะท้อนของแสง
    00:00
  • การเกิดภาพจากกระจกเงา
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 11 การหักเหของแสง
    00:00
  • การเขียนภาพจากกระจกเงาโค้ง
    00:00
  • การเกิดภาพจากเลนส์
    00:00
  • ปรากฎการณ์ธรรมชาติเกี่ยวกับแสง
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 12 ทัศนอุปกรณ์
    00:00
  • ทัศนอุปกรณ์/แว่นขยาย
    00:00
  • ทัศนอุปกรณ์/กระจก
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 13 ตาและการมองเห็น
    00:00
  • กลไกการมองเห็นภาพ
    00:00
  • ความสว่างของแสง/การถนอมสายตา
    00:00

หน่วยที่ 4 ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ

  • สัปดาห์ที่ 14 การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
    00:00
  • การเกิดฤดูกาล
  • การเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 15 การเกิดข้างขึ้นข้างแรม
    00:00
  • การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 16 เทคโนโลยีอวกาศ
    00:00
  • กล้องโทรทรรศน์
    00:00
  • สัปดาห์ที่ 17 นักบินอวกาศ
    00:00
  • ดาวเทียม
    00:00
  • โครงการสำรวจอวกาศ
    00:00
  • ยานอวกาศ
    00:00

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?