วิทยาการคำนวณ ว21104 ม.1 ภาคเรียนที่ 2

Categories: ม.1
คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                                                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     ศึกษาการออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาหรืออธิบายการทำงานที่พบในชีวิตจริง การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปร เงื่อนไข ทำซ้ำ การออกแบบอัลกอริทึม เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์อย่างง่าย การเขียนโปรแกรมโดยใช้ซอฟต์แวร์ Scratch, Python, Java, C ศึกษาการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ประมวลผล สร้างทางเลือก ประเมินผล ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ใช้สื่อและแหล่งข้อมูลตามข้อกำหนดและข้อตกลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคตามแนวคิดเชิงคำนวณ วิธีการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) วิธีการสอนแบบการทำงานกลุ่ม และวิธีการสอนแบบเกม เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์การแก้ปัญหา วางแผนการเรียนรู้ ตรวจสอบการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีและวิทยาการคำนวณ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการนำข้อมูลปฐมภูมิเข้าสู่

ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ ประเมิน นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ได้ตามวัตถุประสงค์ ใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง และเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างรู้เท่าทันและรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนนำความรู้ความเข้าใจในวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการดำรงชีวิต จนสามารถพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ และเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

 

ตัวชี้วัด

ว 4.2         ม.1/1     ม.1/2      ม.1/3   ม.1/4

รวม  4  ตัวชี้วัด

Show More

What Will You Learn?

  • 1.อธิบายลักษณะของแนวคิดเชิงนามธรรมได้
  • 2.ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดเชิงนามธรรมได้
  • 3.ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้แนวคิดเชิงนามธรรมได้

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบและการเขียนอัลกอริทึม
แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นการประเมินรายละเอียดของปัญหา แยกย่อยข้อมูลส่วนที่สำคัญหรือสนใจออกมาเพื่อพิจารณาหาแนวคิดรวบยอดของปัญหา ผ่านการแสดงขั้นตอนหรือกระบวนการในการ แก้ปัญหาที่สามารถอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอนได้อย่างชัดเจนโดยใช้รหัสจำลองหรือผังงานเพื่อ ออกแบบขั้นตอนการทำงาน

  • แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องแนวคิดเชิงนามธรรม
  • แนวคิดเชิงนามธรรม
    05:23
  • แนวคิดเชิงนามธรรมในการแก้ปัญหา
    00:16
  • การเขียนอัลกอริทึมเบื้องต้น
    03:27
  • การเขียนอัลกอริทึมด้วยภาษาธรรมชาติ รหัสจำลอง และผังงาน
    00:00
  • แบบฝึกหัด การเขียนอัลกอริทึมด้วยรหัสจำลอง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การออกแบบและการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
การควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เกิดจากการเขียนชุดคำสั่งและภาษา ซึ่งในการเขียนโปรแกรมการออกแบบอัลกอริทึมด้วยรหัสจำลองเพื่อการเขียนโปรแกรม เพื่อให้คำสั่งนั้นปฏิบัติได้ตรงตามที่ต้องการ โดยการเขียนโปรแกรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการทำงานในชีวิตประจำวันได้

  • การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
    02:55
  • โปรแกรมภาษา C และ โปรแกรมภาษา Scratch
    04:58
  • โปรแกรมภาษา Python และ โปรแกรมภาษา JAVA
    04:24
  • ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    05:05

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การจัดการข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เป็นได้ทั้งตัวเลข ข้อความ ภาพ และเสียง โดยอาจจะหมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ สารสนเทศ หมายถึง การนำข้อมูลมาผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์ และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้มากมาย การประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลนำเข้า คือ การนำเข้าของข้อมูล การประมวลผล คือ คอมพิวเตอร์ประมวลผลโดยการเรียงข้อมูล และการจัดกลุ่มข้อมูล ข้อมูลออก คือ การแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล ซอฟต์แวร์และการเลือกใช้งาน ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตรงตามความต้องการและถูกต้อง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท 1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บริหารจัดการระบบ และจัดสรรทรัพยากร และดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การจัดการข้อมูลสารสนเทศ
  • การจัดการข้อมูลสารสนเทศ
    00:00
  • สารสนเทศเบื้องต้น
    06:09
  • การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
    00:00
  • แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยเรียนรู้ที่ 3 เรื่องการจัดการข้อมูลสารสนเทส

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
ความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ นโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติ มาตรการทางเทคนิคที่นำมาใช้ป้องกันการใช้งานจากบุคคลภายนอก การเปลี่ยนแปลง การขโมย หรือการทำความเสียหายต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการนำระบบรักษาความปลอดภัยมาใช้ร่วมกับเทคนิคและเครื่องมือต่าง ๆ ในการปกป้องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ระบบเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เข้ามาสู่เทคโนโลยีสารสนเทศ ภัยคุกคามต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1.ภัยคุกคามต่อฮาร์ดแวร์ 2.ภัยคุกคามต่อซอฟต์แวร์ 3.ภัยคุกคามต่อระบบเครือข่ายและการสื่อสาร 4.ภัยคุกคามต่อข้อมูล จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

  • แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรูที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
  • ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
    00:00
  • การป้องกันและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
    08:02
  • ข้อกำหนด ข้อตกลงในการใช้แหล่งข้อมูล

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?