วิชาสังคมศึกษาฯ ส22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                        ระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

รหัสวิชา ส22101   รายวิชาพระพุทธศาสนา                                          ภาคเรียนที่  1  เวลา  60   ชั่วโมง

สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน  : ปลายภาค = 70 : 30                              จำนวนหน่วยกิต    1.5  หน่วย

ศึกษา วิเคราะห์  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีงามกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ การพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร การตรัสรู้ การสั่งสอน ประวัติพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ นางขุชชุตตรา พระเจ้าพิมพิสาร มิตตวินชาดก ราโชวาทชาดก พระมหาธรรมราชาลิไทย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โครงสร้างและสาระสังเขปของพระวินับปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก

อธิบายและปฏิบัติตนตามธรรมคุณ และปฏิบัติตนตามข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 ในเรื่องธรรมคุณ 6 อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) ในเรื่อง ขันธ์ 5 (อายตนะ) สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) ในเรื่องหลักกรรม (สมบัติ 4 วิบัติ 4) อกุศลกรรมบถ 10 อบายมุข 6 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) ในเรื่อง สุข 2 (สามิส นิรามิส) มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) ในเรื่อง บุพพนิมิตของมัชฌิมาปฏิปทา ดรุณธรรม 6 กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 กุศลกรรมบถ 10 สติปัฏฐาน 4 มงคล 38 ในเรื่อง ประพฤติธรรม เว้นจากความชั่ว เว้นจากการดื่มน้ำเมา พุทธศาสนสุภาษิต กมฺมุนา วตฺตติ โลโก กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ สุโขปุญฺญสฺส อุจฺจโย ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ การพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรมและวิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ สวดมนต์แปล แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอาณาปานสติ มีมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ปฏิบัติตนในศาสนิกชนที่ดี ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และหลักคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตนตามหลักธรรมและนำไปพัฒนา แก้ปัญหาของตนเองและครอบครัวในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา นักเรียนมีส่วนร่วมในการนำความรู้ไปใช้พัฒนาท้องถิ่นของตนเองเพื่อนำไปสู่กิจกรรมประชาธิปไตย

เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติการดำเนินชีวิต นำไปพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะ เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

 

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ม.2/1   ม.2/2  ม.2/3  ม.2/4  ม.2/5  ม.2/6  ม.2/7  ม.2/8  ม.2/9  ม.2/10  ม.2/11

ส 1.2   ม.2/1   ม.2/2   ม.2/3  ม.2/4  ม.2/5

 

รวม  16  ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม                             ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

รหัสวิชา ส22101   รายวิชาสังคมศึกษาฯ (หน้าที่พลเมือง)                        ภาคเรียนที่  1  เวลา  60   ชั่วโมง

สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน  : ปลายภาค = 70 : 30                                   จำนวนหน่วยกิต    1.5  หน่วยกิต

รายวิชาหน้าที่พลเมือง

ศึกษาวิเคราะห์บทบาท ความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม ความคล้ายคลึงและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน กระบวนการในการตรากฎหมาย การปกป้องคุ้มครองผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาม สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี

โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม

เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข มีคุณธรรมจริยธรรม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านการรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย

 

ตัวชี้วัด

ส 2.1   ม.2/1  ม.2/2

ส 2.2   ม.2/1

 

รวม  3  ตัวชี้วัด

Show More

What Will You Learn?

  • อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
  • วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ตนนับถือ ที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
  • วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ
  • อภิปรายความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือกับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม
  • วิเคราะห์พุทธประวัติ หรือประวัติศาสดาของศาสนา ที่ตนนับถือตามที่กำหนด
  • วิเคราะห์และประพฤติตน ตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด
  • อธิบายโครงสร้างและสาระโดยสังเขปของพระไตรปิฎก หรือคัมภีร์ของศาสนา ที่ตนนับถือ
  • อธิบายธรรมคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔ หรือหลักธรรมของศาสนา ที่ตนนับถือตามที่กำหนด เห็นคุณค่าและนำไปพัฒนา แก้ปัญหาของชุมชนและสังคม
  • อธิบายธรรมคุณและข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ ๔ หรือหลักธรรมของศาสนา ที่ตนนับถือตามที่กำหนด เห็นคุณค่าและนำไปพัฒนา แก้ปัญหาของชุมชนและสังคม
  • เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิต ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือ วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม และวิธีคิดแบบ อรรถธรรมสัมพันธ์ หรือ การพัฒนาจิตตามแนวทาง ของศาสนาที่ตนนับถือ
  • สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ หรือตามแนวทางของศาสนา ที่ตนนับถือ
  • วิเคราะห์การปฏิบัติตน ตามหลักธรรมทางศาสนา ที่ตนนับถือเพื่อการดำรงตน อย่างเหมาะสมในกระแส ความเปลี่ยนแปลงของโลก และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  • ปฏิบัติตนอย่างหมาะสมต่อบุคคลต่าง ๆ ตามหลักศาสนา ที่ตนนับถือตามที่กำหนด
  • มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด
  • วิเคราะห์คุณค่าของศาสนพิธี และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
  • อธิบายคำสอนที่เกี่ยวเนื่อง กับวันสำคัญทางศาสนา และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
  • อธิบายความแตกต่างของศาสนพิธี พิธีกรรม ตามแนวปฏิบัติ ของศาสนาอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การยอมรับ และความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
  • อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชนและประเทศ
  • เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตน ตามสถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย
  • อธิบายกระบวนการ ในการตรากฎหมาย

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

  • สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 1 เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
  • สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 2 เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศเมียนมา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย)
  • สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 1 เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศสิงคโปร์ และประเทศลาว)
  • สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 2 เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม)
  • สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 1 เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศสิงคโปร์ และประเทศลาว)
  • สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 2 เรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม
  • สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 3 เรื่อง การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน (ประเทศเมียนมา)
  • สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 1 แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ 1 เรื่องประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
  • สัปดาห์ที่ 1 ชั่วโมงที่ 2 เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
  • สัปดาห์ที่ 2 ชั่วโมงที่ 3 เรื่อง การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน (ประเทศเมียนมา)

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?