วิชานาฏศิลป์ ศ๓๑๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

ศึกษา  เปรียบเทียบ  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์เกี่ยวกับรูปแบบประวัติความเป็นมา  วิวัฒนาการ  ความงามและคุณค่าของกรแสดงนาฏศิลป์ การละครไทยและสากล  บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของไทยยุคสมัยต่าง ๆ  การแสดงพื้นเมืองภาคต่าง ๆ   การแสดงนาฏศิลป์ในโอกาสต่าง ๆ  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่และเป็นหมู่  ความหมาย  ประวัติความเป็นมา  ท่าทาง  เพลงที่ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ  หลักการสร้างสรรค์  และการวิจารณ์  หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร  ละครสร้างสรรค์  ความเป็นมา  องค์ประกอบของละครสร้างสรรค์  ละครพูด  ละครโศกนาฏกรรม  ละครสุขนาฏกรรม  ละครแนวเหมือนจริงและไม่เหมือนจริง  เทคนิคการใช้แสง  สี  เสียง  ฉาก  อุปกรณ์  สถานที่  และเครื่องแต่งกายในการจัดการแสดงนาฏศิลป์  การประเมินคุณภาพด้านการแสดง   และคุณภาพองค์ประกอบการแสดง  สร้างสรรค์ผลงาน  จัดการแสดงในวันสำคัญของโรงเรียน  จัดชุดการแสดงประจำโรงเรียน  การมีส่วนร่วมในการจัดการด้านพลังงาน  การประหยัดพลังงาน  ศิลปะวัฒนธรรมของประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  นำเสนอแนวคิดอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย  โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด  ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะกระบวนการใช้ชีวิต  ทักษะกระบวนการสื่อสาร  ทักษะกระบวนการใช้เทคโนโลยี  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  กล้าคิด  กล้าแสดงออกทางนาฏศิลป์และละครอย่างสร้างสรรค์  เห็นคุณค่า  ซื่อสัตย์  สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์  รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ  และสามารถนำมาประยุกต์ใข้ในชีวิตประจำวัน

About the instructor

Wandee Bungploeng
ครูนาฏศิลป์

Course Curriculum

บทที่ ๑ การสืบสานนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะประจำชาติ ซึ่งเริ่มต้นมาจากการร้องรำทำเพลงของชาวบ้าน มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน และมีลักษณะแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย จนกระทั่งพัฒนามาเป็นนาฏศิลป์ระดับมาตรฐานที่มีแบบแผนและเอกลักษณ์เป็นของไทย สมควรที่ประชาชนในชาติจะช่วยกันอนุรักษ์ไว้ ซึ่งแนวทางในการอนุรักษ์แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สร้างงานต้องมีความรู้จริง เข้าใจวิธีการสื่อสารให้ถึงผู้ชม และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้ชม ที่จะต้องได้รับความรู้ ความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทย เล็งเห็นคุณค่าและมีความภูมิใจที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง นาฏศิลป์ไทยย่อมสามารถเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้

  • แบบทดสอบก่อนเรียนรู้ บทที่ ๑ การสืบสานนาฏศิลป์ไทย
  • ๑ คุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิลป์
    00:00
  • ๒ สุนทรียะภาพของการแสดงนาฏศิลป์ไทย
  • ๓ ลักษณะและกระบวนการสืบทอดนาฏศิลป์ไทย
  • ๔ การจัดกิจกรรมเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ไทย
  • ๕ การแสดงนาฏศิลป์ในโอกาสต่างๆ
  • ๖ แนวทางการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

บทที่ ๒ นาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทยมีวิวัฒนาการมาจากธรรมชาติอันเป็นวิสัยของมนุษย์ แล้วพัฒนามาเป็นระบำ รำ ฟ้อนในสมัยสุโขทัย ต่อมามีการแสดงละครรำเป็นเรื่อง ในสมัยอยุธยามีละครรำ ๓ ชนิด คือ ละครชาตรี ละครนอก และละครใน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ปรับปรุงละครขึ้นเป็นละครเป็น ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง และละครเสภา โดยนาฏศิลป์ไทยมีลักษณะการแสดง ๒ รูปแบบ คือ นาฏศิลป์ในราชสำนัก และนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยนาฏศิลป์ไทยได้รับการปรับปรุงพัฒนามาเป็นแบบแผนในการแสดงประเภทต่างๆ ได้แก่ โขน ละครรำ ระบำ รำ ฟ้อน และนาฏศิลป์พื้นเมือง

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?