ภาษาอังกฤษไวยากรณ์ อ32206 ม.5 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

                                                                 คำอธิบายรายวิชาภาษาไวยากรณ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
อธิบายและเขียนประโยคและข้อความสัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆที่อ่านรวมทั้งระบุ
และเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆให้สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังและอ่าน
จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่าน สนทนาและ
เขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ ข่าว /เหตุการณ์
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม พูดและเขียนนำเสนอข้อมูล
เกี่ยวกับตนเอง/ประสบการณ์ ข่าว /เหตุการณ์เรื่องและประเด็นต่างๆ ตามความสนใจ เข้าร่วม แนะนำ และ
จัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้าง
ประโยค สำนวนคำพังเพย และสุภาษิตของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย วิเคราะห์ /อภิปรายความเหมือนและ
ความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย ใช้ภาษาสื่อสารใน
สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
ผลการเรียนรู้ :
ข้อที่1อธิบายและเขียนประโยคและข้อความสัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆที่อ่านรวมทั้งระบุ
และเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆให้สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังและอ่าน
ข้อที่2 จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่าน
ข้อที่3 สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ ข่าว/
เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ข้อที่4 พูดและเขียนนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์เรื่องและประเด็นต่างๆ ตาม
ความสนใจ
ข้อที่5 เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมอย่างเหมาะสม
ข้อที่6 อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค สำนวนคำพังเพย และสุภาษิตของ
ภาษาต่างประเทศและภาษาไทย
ข้อที่7 วิเคราะห์/อภิปรายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของ
ภาษากับของไทย
ข้อที่8 ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

What Will You Learn?

  • เพื่อให้นักเรียนได้เรียนการเขียนรูปแบบของคำกริยาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับโครงสร้างของประโยค

About the instructor

Course Curriculum

2. Adjective ending “ed” and “ing”

3. Expressing Agreement
Expressing Agreement 1. เมื่อมีผู้กล่าวข้อความออกมาเป็นประโยคบอกเล่า กล่าวถึงการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเราปฏิบัติเช่นเดียวกัน มีวิธีพูดได้ 2 วิธี คือ 1.1 ใช้ประธาน + กริยาพิเศษ + too (จะมี and นำหน้าก็ได้) เช่น คำเสนอ : He was ill yesterday. (เมื่อวานเขาผู้ชายไม่สบาย) คำสนอง: And I was too. (ผมก็ไม่สบายเช่นเดียวกัน) (หรือ I was too.) 1.2 ใช้ So + กริยาพิเศษ + ประธาน (จะมี and นำหน้าก็ได้) คำเสนอ : He was ill yesterday. (เมื่อวานเขาผู้ชายไม่สบาย) คำสนอง: And so was I. (ผมก็ไม่สบายเช่นเดียวกัน) (หรือ So was I.) ข้อสังเกต: กริยาพิเศษที่ใช้สนองจะต้องมี tense อย่างเดียวกับคำเสนอ ในกรณีที่คำเสนอใช้กริยาธรรมดา ให้ใช้ do / does / did ในคำสนอง (tense เดียวกับคำเสนอ) เช่น คำเสนอ : I went to the cinema last night. (เมื่อคืนฉันไปดูหนัง) คำสนอง : So did I. (ฉันก็เช่นเดียวกัน) 2. เมื่อผู้สนทนากล่าวข้อความออกมาเป็น ประโยคปฏิเสธ คือ ประธานในประโยคนั้นไม่ได้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และประโยคที่คู่สนทนากล่าวออกมา ประธานก็ไม่ได้กระทำเช่นนั้นเหมือนกัน มีวิธีแสดงได้สั้นๆ คือ 2.1 ประธาน + กริยาช่วย + not + either 2.2 Nor + กริยาช่วย + ประธาน 2.3 Neither + กริยาช่วย + ประธาน เช่น I didn’t go to the cinema last night. (เมื่อคืนผมไม่ได้ไปดูหนัง) 2.1 I didn’t either. 2.2 Nor did I. 2.3 Neither did I.

5. Indirect Question

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?