ประวัติวรรณคดี ท33202 ม.6/3-4 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

ศึกษาวรรณคดีสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประวัติกวี   เนื้อหาของวรรณคดี  เพื่อให้รู้ความเป็นมาของวรรณคดีไทย  เข้าใจความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างสมัยเข้าใจค่านิยมและลักษณะชีวิตของคนในสมัยนั้น  สามารถวิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อคิดเห็นใน วรรณคดีของกลุ่มอาเซียน  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และเห็นคุณค่าของวรรณคดีไทยและวรรณคดีของกลุ่มอาเซียน ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้งมีจิตสาธารณะในการอนุรักษ์  ฟื้นฟูสืบสานวัฒนธรรมไทย
โดยใช้กระบวนการคิด  กระบวนการสร้างความรู้  กระบวนการสร้างความตระหนัก  กระบวนการปฏิบัติ  กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง  กระบวนการกลุ่ม  เพื่อให้เกิดความรู้  มีมรรยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดู  การพูด  มีความสามารถในการสื่อสาร  ในการดำรงชีวิต  เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

What Will You Learn?

  • อธิบายความหมาย ขอบเขต ความสำคัญ ของการศึกษาวรรณคดีไทยได้
  • อภิปรายลักษณะความเป็นมาและคุณค่าของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ได้
  • วิเคราะห์สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ความคิดและค่านิยมจากวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
  • อภิปรายลักษณะความเป็นมาและคุณค่าของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • วิเคราะห์ความสัมพันธ์และความแตกต่างของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ได้
  • วิเคราะห์วรรณคดีสมัยธนบุรีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ได้
  • วิเคราะห์ความสัมพันธ์และความแตกต่างของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบันได้
  • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวรรณคดีไทยกับวรรณคดีของกลุ่มอาเซียนได้

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยที่ ๕ วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะเป็นที่เลื่องลือว่าพระองค์ทรงเชี่ยวชาญชำนาญการรบ จนสามารถปราบปรามพม่า ญวน เขมรได้อย่างราบคาบ แต่ก็ทรงเอาพระทัยเป็นอย่างยิ่งในการพระศาสนา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สถาปัตยกรรม นาฎศิลย์ และวรรณคดี

  • การฟื้นฟูและส่งเสริมวรรณคดีและลักษณะวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๑
    00:00
  • นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง
    00:00
  • บทละครเรื่องรามเกียรติ์
    00:00
  • บทละครเรื่องอุณรุท
    00:00
  • แบบทดสอบวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์

หน่วยที่ ๖ วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ㆍ ทรงมีประสบการณ์ด้านการทหารแต่พอควร ทรงรอบรู้การบริหารราชการบ้านเมืองจากพระราชบิดา เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน เพราะการสงครามมีน้อย ทำให้ทรงมีเวลาในการสร้างบ้านบริหารเมืองมากขึ้น สิ่งที่ฟูเฟื่องเลื่องลือเหนืออื่นใดในสมัยนี้ก็คือ วรรณคดี ที่ได้รับการพัฒนาให้เจริญอย่างสูงสุดจนได้รับการขนานนามว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี

  • ความรุ่งเรืองของวรรณคดีและลักษณะวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๒
    00:00
  • เสภาขุนช้างขุนแผน
    00:00
  • บทละครเรื่องอิเหนา
    00:00
  • บทพากย์รามเกียรติ์
    00:00
  • แบบทดสอบวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 2

หน่วยที่ ๗ ยุคทองแห่งวรรณคดี
ยุคสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์งานการกวีรุ่งเรืองที่สุด เพราะรัชกาลที่ ๒ ไม่เพียงสนพระทัยเป็นการส่วนพระองค์ หากยังทรงสนับสนุนให้มีการแต่งกวีกันอย่างแพร่หลายทั่วไป และทรงชุบเลี้ยงนักกวีสำคัญๆ ไว้ในราชสำนัก ในด้านการละครมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งละครนอก ละครใน เกิดวรรณคดีหลายประเภทขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ละครบันเทิง สรรเสริญพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน วรรณคดีเรื่องใดชำรุดสูญหายไป ก็มีการแต่งเติมเสริมต่อให้มีขึ้นสมบูรณ์ขึ้น บทกวีที่ไพเราะที่สุดก็อยู่ในสมัยนี้แหละ

  • บทละครนอก เรื่อง มณีพิชัย
    00:00
  • บทละครนอก เรื่อง คาวี
    00:00
  • บทละครนอก เรื่อง ไชยเชษฐ์
    00:00
  • บทละครนอก เรื่อง ไกรทอง
    00:00
  • บทละครนอก เรื่อง สังข์ทอง
    00:00
  • กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
    00:00
  • นิราศนรินทร์
    00:00
  • คุณค่าของนิราศนรินทร์
    00:00
  • กาพย์พระไชยสุริยา
    00:00

หน่วยที่ ๘ วรรณคดีสมัยรัชกาลที่ ๓
ถึงแม้ว่างานวรรณกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๓ จะไม่เฟื่องฟุ้งรุ่งเรืองดังสมัยรัชกาลที่ 2 ก็ตาม แต่งานวรรณคดีก็ต้องนับว่ามีการสืบสานต่อมาอย่างไม่หยุดยั้ง แม้จะไม่มากมายนัก ในสมัยนี้ปรากฏว่า มีนักกวีชาวบ้านเพิ่มขึ้น จนมีนักกวีหญิงที่มีฝีมือเยี่ยมคนหนึ่งเกิดขึ้น คือคุณพุ่มหรือบุษบาท่าเรือจ้าง ในรัชกาลนี้ได้มีการชำระวรรณคดีที่มีข้อมูลสูญหายไปบ้าง หรือชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เช่น โคลงโลกนิติ โคลงพาลีสอนน้อง สุภาษิตพระร่วง เป็นต้น แล้วรัชกาลที่ ๓ ก็ทรงโปรดให้จารึกไว้ลงบนแผ่นศิลา มีการจารึกวิชาการสำคัญๆ ด้วยภาษากวีไว้ที่วัดพระเชตุพน จน เรียกวัดนี้กันว่า มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะมีความรู้ต่างๆ จารึกไว้มากที่สำคัญประการหนึ่ง ในรัชกาลนี้ได้มีการจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้น ทำให้การพิมพ์วรรณคดีออกเผยแพร่เริ่มแพร่หลายกว้างขวาง

  • โคลงโลกนิติ (ประวัติความเป็นมา)
    00:00
  • วิเคราะห์คำประพันธ์
    00:00
  • คุณค่าด้านวรรณศิลป์
    00:00
  • ทบทวนโคลงโลกนิติ
    00:00
  • ทบทวนบทพากย์เอราวัณ
    00:00
  • ลิลิตตะเลงพ่าย (ประวัติผู้แต่ง) 2 ก.พ.65
    00:00
  • ลิลิตตะเลงพ่าย (เหตุการณ์ทางเมืองมอญ) 3 ก.พ. 65
    00:00
  • ลิลิตตะเลงพ่าย (พระนเรศวรตีเมืองเขมร) 4 ก.พ. 65
    00:00
  • ลิลิตตะเลงพ่าย (พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ) 10 กพ. 65
  • ลิลิตตะเลงพ่าย (พระนเรศวรทรงปรึกษายุทธวิธีเอาชนะข้าศึก) 11 กพ.
    00:00
  • ลิลิตตะเลงพ่าย (ยุทธหัตถีและชัยชนะของไทย) 16 กพ.
    00:00
  • แบบฝึกทบทวนลิลิตตะเลงพ่าย 17 กพ.
    00:00
  • แบบทดสอบหลังเรียน ลิลิตตะเลงพ่าย 18 กพ.
    00:00
  • ทบทวนวรรณคดีสมัยรัชกาลที่ 3
    00:00

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?