เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยที่ 3 เรื่องการแสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำ
การแสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำ เป็นละครที่ดำเนินเรื่องโดยไม่ใช้ท่ารำ มีแต่บทร้องและบทพูดในการดำเนินเรื่อง โดยดัดแปลงมาจากละครตะวันตกและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการแสดง ทำให้ผู้ชมเข้าใจ สามารถวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดงได้ตามหลักการละคร
0/8
หน่วยที่ 4 เรื่องการสร้างสรรค์ละครสั้น
ละครสั้นเป็นการแสดงรูปแบบหนึ่งที่ช่วยฝึกทักษะการปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยท่วงท่าและการเคลื่อนไหวต่างๆ สามารถดัดแปลงมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ซึ่งในการแสดงละครสั้นจะต้องคำนึงถึงรูปแบบการนำเสนอ และเทคนิคที่นำมาจัดแสดงเพื่อให้เกิดความสมจริง และควรมีการวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดง เพื่อนำไปปรับปรุงการแสดงให้มีคุณภาพมากขึ้น
0/6
นาฏศิลป์ ศ33102 ม.6 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

องค์ประกอบของการแสดง

          เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

ละครร้อง จะใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม แต่ถ้าเป็นละครร้องที่เกี่ยวกับภาษาต่างๆ หรือเนื้อเรื่องกล่าวถึงตัวละครต่างชาติ ดนตรีที่ใช้ต้องเพิ่มเครื่องดนตรีภาษาอื่นเข้าไปด้วย เช่น เครื่องภาษามอญ ซึ่งประกอบด้วยตะโพนมอญ เปิงมางคอก ฉาบใหญ่ เป็นต้น

ละครพูด จะไม่มีเพลงร้องประกอบเรื่อง ดนตรีจะบรรเลงเฉพาะเวลาเปิดฉาก โดยจะใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม หรือวงดนตรีสากลบรรเลงประกอบการแสดง

ละครสังคีต

จะใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง การดำเนินเรื่องจะมีลูกคู่ร้องเพลงบรรยายเรื่องทั้งหมด เพลงที่ตัวละครร้องในฉากจะมีลูกคู่รับอยู่หลังฉาก

          การแต่งกาย

ผู้แสดงจะแต่งกายตามประเภทของการแสดง โดยละครร้องล้วนๆ จะแต่งกายตามลักษณะของเชื้อชาติเช่น  จีน ลาว อินเดีย พม่า เขมร เป็นต้น

         แสง สี เสียง ฉาก และอุปกรณ์ประกอบการแสดง

  • ต้องรู้ส่วนกว้าง ส่วนลึก และส่วนสูงของเวที
  • ที่นั่งผู้ชมกว้าง – ยาว สูง – ต่ำ อย่างไรกับเวที
  • ความต้องการอุปกรณ์ต่างๆ มีมากน้อยเพียงใด จะตัดสิ่งใดออกได้หรือไม่
  • ฉากที่ต้องสร้างมีจำนวนเท่าใด ในการสร้างฉากมีความยากง่ายอย่างไร
  • วัสดุ – อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างฉากมีสิ่งใดบ้าง ใช้ระยะเวลานานเท่าไร
  • สถานที่ที่ต้องสร้างฉากมีลักษณะอย่างไร มีพื้นที่เท่าไร เป็นที่โล่งกลางแจ้ง หรือเป็นโรงละครที่สามารถกันแดดกันฝนได้