เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยที่ 3 เรื่องการแสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำ
การแสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำ เป็นละครที่ดำเนินเรื่องโดยไม่ใช้ท่ารำ มีแต่บทร้องและบทพูดในการดำเนินเรื่อง โดยดัดแปลงมาจากละครตะวันตกและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการแสดง ทำให้ผู้ชมเข้าใจ สามารถวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดงได้ตามหลักการละคร
0/8
หน่วยที่ 4 เรื่องการสร้างสรรค์ละครสั้น
ละครสั้นเป็นการแสดงรูปแบบหนึ่งที่ช่วยฝึกทักษะการปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยท่วงท่าและการเคลื่อนไหวต่างๆ สามารถดัดแปลงมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ซึ่งในการแสดงละครสั้นจะต้องคำนึงถึงรูปแบบการนำเสนอ และเทคนิคที่นำมาจัดแสดงเพื่อให้เกิดความสมจริง และควรมีการวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดง เพื่อนำไปปรับปรุงการแสดงให้มีคุณภาพมากขึ้น
0/6
นาฏศิลป์ ศ33102 ม.6 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

ฝึกอ่านบท

ขั้นที่ ๑ (อ่านในใจ)

  • อ่านบทละคร ๒ เที่ยว
  • เที่ยวที่ ๑ อ่านให้รู้เรื่องราว
  • เที่ยวที่ ๒ อ่านเพื่อสำรวจว่าเข้าใจเรื่องดีแล้วหรือไม่

ขั้นที่ ๒ (อ่านในใจ)

  • อ่านเฉพาะบทที่ได้รับมอบหมาย เพื่อแบ่งอารมณ์ ความรู้สึกแต่ละตอนและเตรียมใส่อารมณ์ลงในบท

ขั้นที่ ๓ (อ่านออกเสียง)

  • อ่านบทเสมือนโต้ตอบกับผู้แสดงร่วม โดยการใส่อารมณ์ตามบทบาทและอ่านซ้ำๆ เป็นตอนๆ

ขั้นที่ ๔ (อ่านโต้ตอบ)

  • อ่านบทกับตัวละครที่แสดงร่วม โดยการอ่านบทโต้ตอบกันทั้งเรื่องก่อน จากนั้นอ่านเป็นตอนๆ ซ้ำๆ จนคล่อง

ฝึกการเคลื่อนไหวบนเวที

  • ต้องมีระยะตามขนาดของเวที
  • การเคลื่อนไหวของผู้แสดงควรให้เหมือนกับชีวิตจริงมากที่สุด

ฝึกการพูด

  • ต้องพูดให้ชัดเจนถูกต้องตามอักขรวิธี
  • เสียงต้องมีพลัง
  • การพูดต้องสื่อความหมายได้

ฝึกการฟัง

  • ต้องฟังทั้งวิธีพูด ระดับอารมณ์ น้ำเสียง หางเสียง และผู้แสดงต้องสังเกตกิริยาท่าทางในขณะที่ตัวละครอื่นพูดด้วย

ฝึกการวางท่าทางตามบท

  • รู้จักวิธีการทรงตัวที่ถูกต้อง
  • การรฝึกวางท่าทางตามบท