นาฏศิลป์ ศ33102 ม.6 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ                                                                                           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6

รหัส  ศ33102                                                 รายวิชา  นาฏศิลป์                                            เวลา  10  ชั่วโมง

ศึกษาและฝึกทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ สร้างสรรค์ละครสั้นในรูปแบบที่ชื่นชอบ ใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่ วิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร วิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง บรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง พัฒนาและใช้เกณฑ์การประเมินในการประเมินการแสดง วิเคราะห์ท่าทางและการเคลื่อนไหวของผู้คนในชีวิตประจำวันและนำมาประยุกต์ใช้ในการแสดง อภิปรายบทบาทของบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่างๆ บรรยายวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โดยใช้ทักษะกระบวนการทางดนตรี ในการแสดงออกทางดนตรีและนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์

เพื่อให้เห็นคุณค่างานดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด

ศ 3.1   ม.4-6/1    ม.4-6/3    ม.4-6/4    ม.4-6/6

ศ 3.2   ม.4-6/2    ม.4-6/3

รวม  6  ตัวชี้วัด

Show More

What Will You Learn?

  • นักเรียนอธิบายความหมายของละครที่ไม่ใช้ท่ารำได้
  • นักเรียนมีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ
  • นักเรียนบรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่ที่มีผล
  • ต่อการแสดง

About the instructor

Wandee Bungploeng
ครูนาฏศิลป์

Course Curriculum

หน่วยที่ 3 เรื่องการแสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำ
การแสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำ เป็นละครที่ดำเนินเรื่องโดยไม่ใช้ท่ารำ มีแต่บทร้องและบทพูดในการดำเนินเรื่อง โดยดัดแปลงมาจากละครตะวันตกและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการแสดง ทำให้ผู้ชมเข้าใจ สามารถวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดงได้ตามหลักการละคร

หน่วยที่ 4 เรื่องการสร้างสรรค์ละครสั้น
ละครสั้นเป็นการแสดงรูปแบบหนึ่งที่ช่วยฝึกทักษะการปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยท่วงท่าและการเคลื่อนไหวต่างๆ สามารถดัดแปลงมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ซึ่งในการแสดงละครสั้นจะต้องคำนึงถึงรูปแบบการนำเสนอ และเทคนิคที่นำมาจัดแสดงเพื่อให้เกิดความสมจริง และควรมีการวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดง เพื่อนำไปปรับปรุงการแสดงให้มีคุณภาพมากขึ้น

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?