นาฏศิลป์ ศ23102 ม.3 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ                                                                                                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

รหัสวิชา ศ 23102  รายวิชา   นาฏศิลป์                                                                    ภาคเรียนที่ 1 เวลา 20 ชั่วโมง

สัดส่วนคะแนนระหว่างเรียน : ปลายภาค =  80 : 20                                                           จำนวน  0.5  หน่วยกิต

การศึกษาค้นคว้าและคิดวิเคราะห์  วิจารณ์ เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์ที่มีความแตกต่างกันโดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบนาฏศิลป์  โดยมีทักษะในการใช้ความคิดในการพัฒนารูปแบบการแสดง  ใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางละครที่เหมาะสม บรรยาย เปรียบเทียบ การแสดงอากัปกิริยาของผู้คนในชีวิตประจำวันและในการแสดง และมีทักษะในการแปรความและสื่อสารผ่านการแสดง  ร่วมจัดงานการแสดงในบทบาทหน้าที่ต่างๆ   นำเสนอแนวคิดจากเนื้อเรื่องของการแสดงที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  ออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์และเครื่องแต่งกายเพื่อแสดงนาฎศิลป์ การรักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และละครที่มาจากวัฒนธรรมต่างๆ  อธิบายความสำคัญและบทบาทของนาฎศิลป์และการละครในชีวิตประจำวัน ที่รับอิทธิพลจากนาฏศิลป์อินเดีย การมีส่วนร่วมในการจัดการด้านพลังงาน และแสดงความคิดเห็นในการอนุรักษ์

พร้อมทั้งร่วมอนุรักษ์สืบทอดศิลปะพื้นบ้าน  ดนตรีพื้นเมือง  เพลงพิธี  นาฎศิลป์ และการละครโดยจัดกิจกรรมบูรณาการเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ ชื่นชมในคุณค่าทางความงาม ความไพเราะ และความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย

 

 

รหัสตัวชี้วัด

ศ 3.1  ม.3/1, ม.3/2, ม.3/, ม.3/4, ม.3/5,  ม.3/6 ม./7

ศ 3.2 ม.3/1, ม. 3/3

รวมทั้งหมด  9   ตัวชี้วัด

 

Show More

About the instructor

Wandee Bungploeng
ครูนาฏศิลป์

Course Curriculum

หน่วยที่ ๗ ทักษะทางการละคร
ทักษะทางการแสดงละคร สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และมีความต่อเนื่อง จึงจะทำให้เกิดความคล่องแคล่วและแสดงท่าทางได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังเกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ และพัฒนาฝีมือในด้านการแสดงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น นักเรียนจึงควรศึกษาเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ทางการแสดงละคร รวมไปถึงการใช้ความคิดในการพัฒนารุปแบบการแสดงละครให้สามารถสร้างความประทับใจแก่ผู้ชมละคร

หน่วยที่ ๘ เทคนิคพื้นฐานในการจัดการแสดงละคร
การแสดงละครจะจัดขึ้นมาได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกบทละคร การคัดเลือกผู้แสดง การออกแบบเครื่องแต่งกาย และการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง รวมไปถึงการแต่งหน้า - ทำผมผู้แสดง ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเทคนิคพื้นฐานที่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการแสดงจะต้องทราบ และมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้การจัดการแสดงละครประสบความสำเร็จ

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?