ชีววิทยา 7 ว31247 ม.4 ภาคเรียนที่ 2

Categories: ม.4
คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล กฎการแยกและกฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระ ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล ศึกษาเกี่ยวกับยีนและโครโมโซม การค้นพบสารพันธุกรรม โครโมโซม องค์ประกอบทางเคมีของของดีเอ็นเอ โครงสร้างของดีเอ็นเอ สมบัติของสารพันธุกรรม การกลาย ศึกษาเกี่ยวกับพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ พันธุวิศวกรรม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ความปลอดภัยของเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ และมุมมองทางสังคมและจริยธรรม ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ประชากร และกำเนิดของสปีชีส์

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การทดลอง อภิปราย การอธิบาย และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรมคุณธรรม และค่านิยม

What Will You Learn?

  • 1.สืบค้นข้อมูล อธิบายและสรุปผลการทดลองของเมนเดล
  • 2.อธิบายและสรุปกฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ และนำกฎของเมนเดลนี้ไปอธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและใช้ในการคำนวณโอกาสในการเกิดฟีโนไทป์และ จีโนไทป์แบบต่าง ๆ ของรุ่น F1 และ F2
  • 3.สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล
  • 4.สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการแปรผันไม่ต่อเนื่องและลักษณะทางพันธุกรรมที่มี การแปรผันต่อเนื่อง
  • 5.อธิบายการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม และยกตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีนบน ออโตโซมและยีนบนโครโมโซมเพศ

About the instructor

Course Curriculum

บทที่ 1 ยีนและโครโมโซม
ในบทนี้จะใช้เวลาเรียน 2 สัปดาห์ ( 6 ชั่วโมง) เนื้อหาจะประกอบไปด้วย<br> 1. โครโมโซม ( 1 ชั่วโมง)<br> 2. การค้นพบสารพันธุกรรม ( 1 ชั่วโมง)<br> 3. สารพันธุกรรม ( 1 ชั่วโมง)<br> 4. สมบัติของสารพันธุกรรม ( 2 ชั่วโมง)<br> 5. มิวเทชั่น ( 1 ชั่วโมง)<br>

  • แบบทดสอบก่อนเรียน
  • การค้นพบสารพันธุกรรม
    00:00
  • โครโมโซม
    00:00
  • สารพันธุกรรม
    00:00
  • สมบัติของสารพันธุกรรม
    00:00
  • Protein Synthesis
    00:00
  • Mutations
    00:00

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล ทำการทดลองการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตา โดยผสมถั่วลันเตาที่มีลักษIะแตกต่างกัน พบว่า ถั่วลันเตารุ่นลูกจะมีลักษณะเหมือนต้นพ่อหรือต้นแม่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และเมื่อนำรุ่นลูกมาผสมกันเองจะได้ถั่วลันเตารุ่นหลานที่มีบางต้นลักษณะเหมือนต้นพ่อ และบางต้นลักษณะเหมือนต้นแม่ ซึ่งการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตามียีน (gene) ควบคุม ซึ่งประกอบด้วยแอลลีล (allele) 2 แอลลีล รุ่นลูกจะได้รับแอลลีลจากพ่อและแม่อย่างละหนึ่งแอลลีล แต่ลักษณะที่ปรากฏออกมาจะมีเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น เนื่องจากแอลลีลที่ควบคุมลักษณะเด่นจะข่มแอลลีลที่ควบคุมลักษณะด้อยอยู่ โดยเรียกแอลลีลที่ควบคุมลักษณะเด่นว่า แอลลีลเด่น (dominant allele) และเรียกแอลลีลที่ควบคุมลักษณะด้อยว่า แอลลีลด้อย (recessive allele) เมื่อให้รุ่นลูกผสมกันเองจะได้รุ่นหลานที่แสดงทั้งลักษณะเด่นและลักษณะด้อยออกมา ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยเท่ากับ 3 : 1 ซึ่งคู่ของแอลลีลหรือรูปแบบของยีนที่ปรากฏเป็นคู่กัน เรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) ส่วนลักษณะที่แสดงออกมา เรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตา เมนเดลสามารถสรุปกฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ 2 ข้อ ดังนี้ - กฎการแยก (law of segregation) มีใจความสำคัญว่า ลักษณะของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยยีน และยีนจะปรากฏเป็นคู่ ๆ เสมอ ซึ่งยีนจะแยกจากกันเมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์จะได้รับเพียงแอลลีลใดแอลลีลหนึ่ง - กฎการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (law of independent assortment) มีใจความสำคัญว่า แอลลีล ของยีนที่เป็นคู่กัน เมื่อแยกออกจากกันจะจัดกลุ่มกันอย่างอิสระกับแอลลีลของยีนอื่น ๆ ซึ่งแยกออกจากคู่เช่นกันเพื่อเข้าไปยังเซลล์สืบพันธุ์ การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมของเมนเดลเป็นการถ่ายทอดลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนเพียงยีนเดียวหรือสองแอลลีลเท่านั้น ซึ่งยีนเด่นจะข่มยีนด้อยอย่างสมบูรณ์ แต่การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะไม่ได้ถูกควบคุมการแสดงออกตามกฎของเมนเดล ดังนี้ - การข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominant) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีนเดียว แต่แอลลีลไม่ได้มีลักษณะเด่นหรือด้อยอย่างสมบูรณ์ เช่น สีดอกของต้นลิ้นมังกร ลักษณะของเส้นผม - ความเด่นร่วม (codominant) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีนเดียว แต่แอลลีล 2แอลลีลไม่ข่มซึ่งกันและกัน แต่แสดงลักษณะเด่นออกมาเท่ากัน เช่น หมู่เลือด AB ในระบบ ABO - มัลติเพิลแอลลีล (multiple allele) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 2 แอลลีล เช่น หมู่เลือดระบบ ABO ประกอบด้วยแอลลีล IA IB และ i - พอลิยีน (polygene) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีนหลายยีน และมีสิ่งแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง เช่น สีผิว สีตา - ยีนบนโครโมโซมเพศ เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมเพศ เช่น โรค ฮีโมฟิเลีย โรคตาบอดสี - ยีนบนโครโมโซมเดียวกัน เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกวบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมเดียวกัน และยีนจะถูกถ่ายทอดไปพร้อมกัน เช่น ยีนควบคุมลักษณะสีตัวและลักษณะปีกของแมลงหวี่ - ลักษณะภายใต้อิทธิพลเพศ เป็นลักษณะพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย แต่มีการแสดงออกแตกต่างกันในแต่ละเพศ เช่น ลักษณะศีรษะล้าน - ลักษณะที่ปรากฏจำเพาะเพศ เป็นลักษณะพันธุกรรมที่อยู่บนโครโมโซมร่างกาย แต่แสดงออกในเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น การสร้างน้ำนมในเพศหญิง การเกิดหนวดเคราในเพศชาย

  • ข้อสอบพันธุศาสตร์เมนเดล ม. 4
  • ประวัติของเมนเดล
    00:00
  • การทดลองของเมนเดล
    00:00
  • กฏข้อที่ 1 ของเมนเดล
    00:00
  • กฏข้อที่ 2 ของเมนเดล
    00:00
  • ข้อ 3
    00:00
  • ข้อ 6
    00:00
  • ข้อ 5
    00:00
  • ข้อ 9
    00:00
  • ข้อ 10
    00:00
  • พันธุศาสตร์ที่เป็นส่วนขยายของเมนเดล 1
    00:00
  • พันธุศาสตร์ที่เป็นส่วนขยายของเมนเดล 2
    00:00
  • ยีนบนโครโมโซมเพศ
    00:00

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

  • เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
    00:00
  • Dna recombinant
    00:00
  • cloning
    00:00
  • Gel electrophoresis
    00:00

วิวัฒนาการ

  • หลักฐานที่บ่งบอกถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
    00:00
  • แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
    00:00
  • พันธุศาสตร์ประชากร
    00:00
  • หลักการของฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก (Hardy-Weinberg principle)
    00:00
  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแอลลีล
    00:00

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?