คณิตศาสตร์ ค23102 ม.3 ภาคเรียนที่ 2

คอร์สที่อยากเรียน Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

เกี่ยวกับคอร์ส

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค23102  คณิตศาสตร์พื้นฐาน                                                                               กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ภาคเรียนที่ 2                                                        เวลา 60 ชั่วโมง      จำนวน 1.5 หน่วยกิต

 

ศึกษาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยการแทนค่าและการกำจัดตัวแปร การนำระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ วงกลม มุมที่จุดศูนย์กลางและมุมในส่วนโค้งของวงกลม คอร์ด และเส้นสัมผัสวงกลม การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของพีระมิด กรวย ทรงกลม การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และการนำความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นไปใช้ในชีวิตจริง อัตราส่วนตรีโกณมิติ อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุม 30, 45 และ 60 องศา อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุมระหว่าง 0 ถึง 90 องศา ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนตรีโกณมิติ ไซน์ โคไซน์ และแทนเจนต์ของมุมต่าง ๆ การนำความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนตรีโกณมิติไปใช้ในการแก้ปัญหา

โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยง การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

 

ตัวชี้วัด

1.3            ม.3/3  

2.1            .3/1      .3/2

ค 2.2            ม.3/2     .3/3

3.2            .3/1

 

รวม 6 ตัวชี้วัด  

Show More

What Will You Learn?

  • ค 1.3 ม.3/3 ประยุกต์ใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • ค 2.2 ม.3/3 เข้าใจและใช้ทฤษฎีบทเกี่ยวกับวงกลมในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
  • ค 2.1 ม.3/1 ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นที่ผิวของพีระมิด กรวย และทรงกลมในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
  • ค 2.1 ม.3/2 ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องปริมาตรของพีระมิด กรวย และทรงกลมในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
  • ค. 3.2 ม.3/1 เข้าใจเกี่ยวกับกำรทดลองสุ่มและนำผลที่ได้ไปหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
  • ค 2.2 ม.3/2 เข้าใจและใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนตรีโกณมิติในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

About the instructor

Course Curriculum

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

  • แบบทดสอบ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
  • ชั่วโมงที่ 1 เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร (วันที่ 1–5 พ.ย. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 2 – 3 เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร (วันที่ 1–5 พ.ย. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 4 – 5 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร แบบแทนค่า (วันที่ 8–12 พ.ย. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 6 – 8 เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร แบบกำจัดตัวแปร (วันที่ 8–12 พ.ย. 64) และ (วันที่ 15–19 พ.ย. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 9 – 10 เรื่อง โจทย์ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร (วันที่ 15–19 พ.ย. 64) และ (วันที่ 22–26 พ.ย. 64)
    00:00

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วงกลม

  • แบบทดสอบ เรื่อง วงกลม
  • ชั่วโมงที่ 11 เรื่อง ทบทวนความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน (22–26 พ.ย. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 12 – 14 เรื่อง วงกลม (วันที่ 22–26 พ.ย. 64) และ (วันที่ 29 – 3 ธ.ค. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 15 – 18 เรื่อง มุมที่จุดศูนย์กลางและมุมในส่วนโค้งของวงกลม (วันที่ 29 – 3 ธ.ค. 64) และ (วันที่ 6 – 10 ธ.ค. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 19 – 22 เรื่อง คอร์ดของวงกลม (วันที่ 13 – 17 ธ.ค. 64) และ (วันที่ 20 – 24 ธ.ค. 64)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 23 – 26 เรื่อง เส้นสัมผัสวงกลม (วันที่ 20 – 24 ธ.ค. 64) และ (วันที่ 27 – 30 ธ.ค. 64)
    00:00

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พีระมิด กรวย และทรงกลม

  • แบบทดสอบ เรื่อง พีระมิด กรวย และทรงกลม
  • ชั่วโมงที่ 28 – 31 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรพีระมิด (วันที่ 4 – 7 ม.ค. 65) และ (วันที่ 10 – 14 ม.ค. 65)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 32 – 35 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรกรวย (วันที่ 10 – 14 ม.ค. 65) และ (วันที่ 17 – 21 ม.ค. 65)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 36 – 39 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรทรงกลม (วันที่ 17 – 21 ม.ค. 65) และ (วันที่ 24 – 28 ม.ค. 65)
    00:00

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความน่าจะเป็น

  • ชั่วโมงที่ 40 – 42 เรื่อง โอกาสของเหตุการณ์ (วันที่ 31 – 4 ก.พ. 65)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 43 – 45 เรื่อง ความน่าจะเป็น (วันที่ 7 – 11 ก.พ. 65)
    00:00

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 อัตราส่วนตรีโกณมิติ

  • ชั่วโมงที่ 46 เรื่อง ทบทวนความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน (วันที่14–18 ก.พ. 65)
    00:00
  • ชั่วโมงที่ 47 – 51 เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติของมุมแหลม (วันที่ 14 – 18 ก.พ. 65) และ (วันที่ 21 – 25 ก.พ. 65)
    00:00

Student Ratings & Reviews

No Review Yet
No Review Yet

Want to receive push notifications for all major on-site activities?