เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน
แนวคิดเชิงคำนวณ เป็นความสามารถในการแก้ไขปัญหาโดยมุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ หรือเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยี มีขั้นตอนเบื้องต้น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดปัญหา 2) วิเคราะห์ระบบ 3) ออกแบบระบบ 4) พัฒนาระบบและทดสอบระบบ 5) ติดตั้งระบบ 6) บำรุงรักษาระบบ ซึ่งการพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีจะต้องนำแนวคิดเชิงคำนวณมาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงาน
0/3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การนำแนวคิดเชิงคำนวณพัฒนาโครงงานที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
โครงงานเทคโนโลยี คือ โครงงานที่เกี่ยวกับการนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากรที่มีอยู่มาสร้างหรือพัฒนา เครื่องมือ เครื่องใช้ แบบจำลองหรือวิธีการเพื่อใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ โดยมีขั้นตอนการทำงานอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการเทคโนโลยี การประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อพัฒนาโครงงานทำได้โดยนำแนวคิดเชิงคำนวณมาใช้หาวิธีในการแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีแก้ปัญญาแล้วจืงนำปัญหานั้นมาจัดทำเป็นโครงงานที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงงานเบื้องต้นทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดปัญหา 2) วิเคราะห์ระบบ 3) ออกแบบระบบ 4) พัฒนาระบบและทดสอบระบบ 5) ติดตั้งระบบ 6) บำรุงรักษาระบบ
วิทยาการคำนวณ ว31182 ม.4 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

1 แนวคิดการแยกย่อย (Decomposition )

หมายถึง การย่อยปัญหาหรือระบบ ที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและแก้ปัญหา เช่น หากต้องการเข้าใจว่าระบบของ จักรยานทำงานยังไง ทำได้โดยกำรแยกจักรยานออกเป็นส่วนๆ แล้วสังเกตและทดสอบการทำงานของแต่ละ องค์ประกอบ จะเข้าใจได้ง่ายกว่าวิเครำะห์จำกระบบใหญ่ที่ซับซ้อน ทำได้ 2 รูแบบ ดังนี้

➢ การแยกองค์ประกอบ

➢ การแบ่งขั้นตอน

การแยกองค์ประกอบ เช่น การออกแบบบบ้าน ดูว่าบ้านจะมีห้องอะไรบ้าง และแยกออกแบบห้องต่างๆ สำมำรถถออกแบบแต่ละห้องได้อย่างอิสระต่อกันออกแบบพร้อมกันได้

การแบ่งขั้นตอน เช่น การสร้างบ้าน แบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน ( ออกแบบบ้าน ลงเสาเข็ม เดิน ท่อน้ำ เดินสายไฟ ทาสี ตกแต่งภายใน ) ทำงานตามลำดับ โดยในแต่ละขั้นตอน จะใช้วิธีการใดก็ได้

ตัวอย่าง การแยกองค์ประกอบ

จักรยานประกอบด้วย ล้อ แฮนด์ โครงจักยาน ระบบขับเคลื่อน และอื่นๆ ถ้ามองในลายละเอียดของ ล้อจักรยาน จะเห็นว่าประกอบด้วย ยางล้อ วงล้อ และซี่ลวด หรือถ้ำพิจารณาชุดขับเคลื่อนก็จะพบว่า ประกอบด้วยเฟือง โซ่ และบันได เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมำเขียนเป็นแผนภพจะได้รูปดังรูปนี้

ประโยชน์ของการแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา

➢ ท ำให้มองเห็นปัญหำได้ครบทุกส่วน (ครบทุกองค์ประกอบ/ขั้นตอน)

➢ ท ำให้แก้ปัญหำได้อย่ำงเป็นระบบ

➢ ท ำให้แก้ปัญหำแต่ละส่วนได้อย่ำงอิสระต่อกัน

➢ ใช้แบ่งหน้ำที่/ควำมรับผิดชอบและเวลำที่ใช้ในกำรแก้ปัญหำแยกกันได

ตัวอย่ำง การซื้อคอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง – สามารถเลือกความสามารถของแต่ละองค์ประกอบแยกกันได้ – ทำให้เห็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น

 
 

2. การคิดหารูปแบบ (pattern recognition)

การหารูปแบบเป็นทักษะการหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง แนวโน้ม และลักษณะ ทั่วไปของสิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วนักเรียนจะเริ่มพิจารณาปัญหาหรือสิ่งที่สนใจ จากนั้นอาจใช้ทักษะการแยก ส่วนประกอบท าให้ได้องค์ประกอบภายในอื่น ๆ แล้วจึง ใช้ทักษะการหารูปแบบเพื่อสร้างความเข้าใจ ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น การพิจารณำรูปแบบของปัญหำหรือวิธีการแก้ปัญหำ (pattern recognition) เป็นการพิจารณา รูปแบบ แนวโน้ม และลักษณะทั่วไปของข้อมูล โดยพิจารณาว่าเคยพบปัญหาลักษณะนี้มาก่อนหรือไม่ หากมี รูปแบบของปัญหาที่คล้ายกันสามำรถนำวิธีการแก้ปัญหานั้นมำประยุกต์ใช้ และพิจารณารูปแบบปัญหาย่อยซึ่ง อยู่ภายในปัญหาเดียวกันว่ามีส่วนใดที่เหมือนกัน เพื่อใช้วิธีการแก้ปัญหาเดียวกันได้ ทำให้จัดการกับปัญหาได้ ง่ายขึ้น และการทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

• ช่วยให้ทำความเข้าใจสิ่งของหรือปัญหาได้ง่ำยขึ้นประโยชน์ของการหารูปแบบ

• เมื่อพบว่าปัญหามีรูแบบเดียวกันกับที่เคยพบสามารถใช้วิธีเดียวกันแก้ปัญหาได้

 

ปัญหาย่อยที่มีรูปแบบซ้ำเดิม

• บางปัญหาสามารถแบ่งเป็นปัญหาย่อยที่มีรูปแบบเดิมได้

• สามารถใช้วิธีการเดิมในการแก้ปัญหาย่อยได้

ตัวอย่าง – การล้างจาน 4 ใบ – เมื่อล้างจาน 1 ใบ จะเห็นว่าปัญหากลายเป็น “การล้างจาน 3ใบ” ซึ่งมีรูปแบบเดิม – “การล้างจาน 3ใบ” จึงเป็นปัญหาย่อยของ “การล้างจาน 4 ใบ” ซึ่งใช้วิธีเดิม ในการแก้ปัญหาได้ คือ “ล้างจานใบบนสุดเพิ่มอีก 1 ใบ”

 

 

3.การคิดเชิงนามธรรม ( ABSTRACTION )

การคิดเชิงนามธรรม ( Abstraction ) คือการมุ่งความคิดไปที่ข้อมูลสำคัญ และคัดกรองส่วนที่ไม่ เกี่ยวข้องออกไป เพื่อให้จดจ่อเฉพาะสิ่งที่เรำต้องการจะทำ เช่น แม้ว่าแมวแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่ มันก็มีลักษณะเฉพำะตัวที่ต่างกัน เช่น มีตาสีเขียว ขนสีดำ ชอบกินปลาทู ความคิดด้ำนนำมธรรมจะคัดกรอง ลักษณะที่ไม่ได้ร่วมกันกับแมวตัวอื่นๆ เหล่านี้ ออกไป เพราะรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยให้เรา อธิบำยลักษณะพื้นฐานของแมวในการวาดภาพมันออกมาได้ กระบวนการคัดกรองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป และมุ่งที่รูปแบบซึ่งช่วยให้เราแก้ปัญหาได้เรียกว่าแบบจำลอง(model) เมื่อเรามีความคิดด้านนามธรรม มันจะ ช่วยให้เรารู้ว่าไม่จำเป็นที่แมวทุกตัวต้องหางยาวและมีขนสั้น หรือทำให้เรำมีโมเดลความคิดที่ชัดเจนขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่าง แบบจำลองที่นั่งในห้องเรียน

– บอกลักษณะการจัดโต๊ะละที่นั่งของนักเรียน

– ใช้ตอบคำถามว่ามีนักเรียนกี่คน นั่งที่ใดบ้างถ้าจัมโบ้อยากคุยกับนก ต้องเดินไปทางใด

– ไม่สามารถบอกได้ว่าประตูห้องอยู่ที่ใด ในห้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

 
 

4. ขั้นตอนวิธีการ (Algorithm)

ขั้นตอนวิธีการ (Algorithm) คือ การพัฒนำแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หรือสร้าง หลักเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อดำเนินตามทีละขั้นตอนในกำรแก้ไขปัญหา เช่น เมื่อเราต้องการสั่งคอมพิวเตอร์ให้ท ำงาน บำงอย่ำง เราต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้มันทำงานไปตำมขั้นตอน การวางแผนเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตอบสนองควำมต้องการของเรานี้เอง ที่เรียกว่าวิธีคิดแบบอัลกอริทึ่ม คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่ กับชุดคำสั่งอัลกอริทึ่มที่เราสั่งให้มันทำงานนั่นเอง กำรออกแบบอัลกอริทึ่มยังเป็นประโยชน์ต่อการคำนวณ กำรประมวลผลข้อมูลและการวางระบบอัตโนมัติต่างๆ

ลักษณะของขั้นตอนวิธีที่ดี

• มีความชัดเจน ไม่กำกวม สามารถปฏิบัติตามได้

• มีขั้นตอนการเริ่มต้น และขั้นตอนการสิ้นสุดกระบวนการ

• มีหน้าที่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาใด

การอธิบายขั้นตอนวิธีการทำได้หลายรูปแบบ

ประโยชน์ของการออกแบบขั้นตอนวิธีการ

• ได้การทำงานที่เป็นระบบ

• ผู้ปฏิบัติ( อาจจะเป็นคนหรือคอมพิวเตอร์) สามารถนำไปทำตามได้ถูกต้อง

• ได้ผลลัพธ์ได้ถูกต้องตามที่ต้องการ

• สามารถตรวจสอบจุดผิดพลาดได้ง่าย

 
ตัวอย่าง ขั้นตอนวิธีการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์