เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยที่ 1 การแสดงนาฏศิลป์ไทย
การแสดงความเคารพในการเรียนและการแสดงนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์สากล การแสดงนาฏศิลป์เป็นหมู่ การแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่
0/10
หน่วยที่ 3 นาฏศิลป์ไทยกับการแสดงท้องถิ่น
0/6
นาฏศิลป์ ศ14101 ป.4 ภาคเรียนที่ 2
เกี่ยวกับบทเรียน

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดง รำโทน คือ โทน ฉิ่ง กรับ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนารำโทนขึ้นจนเป็นรำวงมาตรฐานจนถึง ปัจจุบัน จึงได้เพิ่มเครื่องดนตรีประกอบเป็นวงดนตรีไทยหรือใช้ในวงดนตรีสากล บรรเลงประกอบรำวงมาตรฐาน

บทเพลงงามแสงเดือน

        งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า       งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (ซ้ำ)

เราเล่นกันเพื่อสนุก                               เปลื้องทุกข์วายระกำ

ขอให้เล่นฟ้อนรำ                                   เพื่อสามัคคีเอย

อธิบายท่ารำ ท่าสอดสร้อยมาลา

         มือซ้ายจีบหงายระดับชายพก มือขวาตั้งวงสูงระดับหางคิ้ว เอียงศีรษะซ้าย จากนั้นเลื่อนมือซ้ายที่จีบออกมาทางด้านข้างของลำตัว ปล่อยมือจีบ แบมือหงาย มือขวาจีบคว่ำ พลิกข้อมือซ้ายตั้งวงสูง มือขวาเลื่อนวงลงมาด้านข้างลำตัว เปลี่ยนจากตั้งวงเป็นจีบหงายระดับชายพก เอียงศีรษะขวา ลักษณะการก้าวเท้า เริ่มต้นจากการก้าวเท้าซ้ายก่อน โดยเท้าที่ก้าวกับมือจีบจะต้องเป็นข้างเดียวกัน ให้นับการก้าวเท้า ๘ ครั้ง จึงเปลี่ยนมือ ๑ ครั้ง การเอียงศีรษะจะต้องเอียงข้างมือจีบ

สัปดาห์ที่ 3 วิชานาฏศิลป์ชั้น ป. 4 เรื่องรำวงมาตรฐาน